ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระบุรีวิทยา ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นางสาวศริณทิพย์ มิตรพัฒน์ รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนกระบุรีวิทยา
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระบุรีวิทยา ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ใน 4 ด้านคือ 1)เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2)เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3)เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ และ 4)เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ รูปแบบที่ใช้ในการประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้น 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม 4 ฉบับ และแบบบันทึก 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป มีผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระบุรีวิทยา ปีการศึกษา 2564 พบว่า ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ส่วนผลของการประเมินในภาพรวมของแต่ละด้าน และรายตัวชี้วัด มีดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายตัวชี้วัดมีผลการประเมินดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
1.2 ความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับรายตัวชี้วัด มีผลการประเมิน ดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของทรัพยากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2.2 ความรู้ความเข้าใจของครูในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
2.3 ความเพียงพอของเอกสาร เครื่องมือในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และในส่วนของรายตัวชี้วัด มีผลการประเมิน ดังนี้
3.1 การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3.2 ความสามารถของครูในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3.3 การนิเทศ กำกับ ติดตาม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายตัวชี้วัดมีผลการประเมิน ดังนี้
4.1 จำนวนนักเรียนที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.4 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป
1.1 ควรนำวิธีการประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปใช้ในการประเมินโครงการอื่น ๆ ของโรงเรียน เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ ทำให้ได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้การปรับปรุงแก้ไข ตลอดจนนำผลการประเมินใช้ประกอบการตัดสินใจในการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินงานโครงการของโรงเรียน
1.2 ควรส่งเสริมให้ครูนำวิธีการประเมินโครงการรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปใช้ในการประเมินโครงการที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การประเมินผลในแต่ละโครงการเป็นไปอย่างเป็นระบบ และทำให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมทุกด้านในการนำมาใช้พัฒนาการดำเนินงานโครงการให้เอื้อประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียนทุกคน
2. ข้อเสนอแนะทั่วไป
2.1 ควรดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามสภาพปัญหา เพื่อให้นักเรียนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2.2 ควรมีการวางแผนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น
2.3 ควรมีการจัดระบบการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และใช้กระบวนการนิเทศที่หลากหลาย
2.4 ควรมีการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ โดยครูควรจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลายใช้สื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อผู้เรียน และควรจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนอ่อน สอนเสริมสำหรับนักเรียนเก่งเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
2.5 ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนอย่างหลากหลาย เพื่อให้ครอบคลุมการป้องกัน แก้ไข และช่วยเหลือนักเรียนทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา