ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ร่วมกับการเรียนรู้แบบ CIPPA เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ผู้วิจัย นางเพ็ญพิศ ฉายอำไพ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
ปีที่ทำการวิจัย ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
บทคัดย่อ
ในการพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ๒) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA เพื่อพัฒนาทักษะ
การเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ๓) ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่
พัฒนาขึ้น ดังนี้ หาประสิทธิภาพของรูปแบบ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการเขียน
ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนเทศบาล ๔
เฉลิมพระเกียรติ สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จำนวน ๓๐ คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการ
สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย
ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จำนวน ๑๕ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ๑) แบบ
สัมภาษณ์ ๒) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๔) แบบวัด
ทักษะการเขียน ๕) แบบวัดความพึงพอใจ และ ๖) แบบประเมินความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test (Independent system)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
๑. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า การเรียนวิชาภาษาไทยส่วนใหญ่ครูจะเน้นอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจเนื้อหา มุ่งเน้นให้นักเรียนค้นพบความรู้และสร้างความรู้ด้วยตัวเองน้อยมาก ทำให้นักเรียน
ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน เพื่อน และแหล่งความรู้จากสื่ออื่น ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของนักเรียน
การจัดกิจกรรมที่เหมาะสมควรเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วม โดยการปฏิบัติจริงการใช้กระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะการเขียนโดยเน้นการปฏิบัติ เน้นให้นักเรียนกล้าแสดงออกตามความ
เข้าใจ โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะให้คำปรึกษา๒. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบ CIPPA เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๓ (PSKKCE Model) มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น ๖ องค์ประกอบ คือ ๑) หลักการ
๒) วัตถุประสงค์ ๓) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๔) ระบบสังคม ๕) หลักการตอบสนอง และ ๖)
ระบบสนับสนุน โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม ๖ ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ เตรียมความพร้อม ขั้นที่ ๒ การ
แสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นที่ ๓ การจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ ๔แลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่ ๕ สรุปและนำแนวคิด
ไปใช้ และขั้นที่ ๖ การประเมินผล ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ มี
คุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๔
๓. ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบ CIPPA เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๓ (PSKKCE Model) พบว่า ๑) ประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น
มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ ๘๔.๗๘/๘๓.๔๙ ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๓) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีทักษะการเขียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๔) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
๔. ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยมีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เรื่อง
มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ (PSKKCE Model) โดยรวมอยู่ในระดับมาก