ชื่อผลงาน การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
ผู้ประเมิน นางสาวชลธี สุขมา
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒ มีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ประเมินบริบทสภาพแวดล้อมของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ ๒) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ ๓) ประเมินกระบวนการของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ และ ๔) ประเมินผลผลิตของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนอนุบาลเกาะจันทน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๒ ประกอบด้วย ๑)ผู้บริหารสถานศึกษา ๒ คน ๒)ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๔๖ คน ๓)นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๖๒๘ คน ๔)ผู้ปกครองนักเรียนซึ่งเป็นผู้ปกครองเครือข่ายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน ๔๒ คน ๕) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๓ คน (ไม่รวมผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู) ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มีกระบวนการดำเนินการประเมิน แบ่งเป็น ๓ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ การประเมินก่อนดำเนินการโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้า ระยะที่ ๒ การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ด้านกระบวนการ ระยะที่๓ การประเมินหลังดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ด้านผลผลิต เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบประเมินมีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย x̄ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ด้านบริบท เกี่ยวกับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนการดำเนินการ และกิจกรรมของโครงการ พบว่าโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในโครงการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในโครงการ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินการโครงการ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต เกี่ยวกับเกี่ยวกับผลสำเร็จในการดำเนินงานของโครงการ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากมากที่สุด