ชื่อเรื่อง รายงานประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดมะเกลือ
(กาญจนลักษณ์วิทยา) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP) ปีการศึกษา 2564
ผู้วิจัย ยุวดี เกิดโพธิ์ชา
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดมะเกลือ(กาญจนลักษณ์วิทยา) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP) ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context) ของประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดมะเกลือ(กาญจนลักษณ์วิทยา) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดมะเกลือ(กาญจนลักษณ์วิทยา) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP) 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) ของประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดมะเกลือ(กาญจนลักษณ์วิทยา) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP) ปี และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) ของประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวัดมะเกลือ(กาญจนลักษณ์วิทยา) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการประเมิน ด้านบริบท พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีระดับความเห็นด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.13)
2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีระดับความเห็นด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.17)
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการ พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีระดับความเห็นด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15)
4. ผลการประเมิน ด้านผลผลิต พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีระดับความเห็นด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12) ส่วนนักเรียนมีระดับความเห็นด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15) และ ผู้ปกครองนักเรียน มีระดับความเห็นด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12)
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.13) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15)
2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.17) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.13)
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการ พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.08)
4. ผลการประเมิน ด้านผลผลิต พบว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.11) นักเรียนมีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15) และ ผู้ปกครองมีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12)