ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการการบริหารจัดการศึกษาวิถีใหม่แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้ประเมิน : นายศุภโชค คงรอด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ)
ปีที่ประเมิน : 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการการบริหารจัดการศึกษาวิถีใหม่แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ดังนี้ 4.1 ผลการดำเนินงานตามโครงการ 4.2) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมที่มีต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมวิถีใหม่ ผู้ให้ข้อมูลในการประเมิน ได้แก่ 1) ครู เลือกแบบเจาะจงเฉพาะครูผู้สอน ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2563-2564 จำนวน 8 คน 2) นักเรียน เลือกเจาะจงเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 54 คน 3) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เลือกเจาะจงเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและครู จำนวน 7 คน 4) ผู้ปกครอง เลือกแบบสุ่มอย่างง่ายจากผู้ปกครองนักเรียนปีการศึกษา 2564 จำนวน 76 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ เลือกเจาะจงจากกลุ่มประชากร จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการการบริหารจัดการศึกษาวิถีใหม่แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมหรือบริบทของโครงการการบริหารจัดการศึกษาวิถีใหม่แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564 นั้น ครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่าโครงการมีความเหมาะสมความสอดคล้องและเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการบริหารจัดการศึกษาวิถีใหม่แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564 นั้น ครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่าโครงการมีความเหมาะสมความสอดคล้องและเป็นไปได้ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการบริหารจัดการศึกษาวิถีใหม่แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564 นั้น ครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นว่าโครงการมีความเหมาะสมและปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการบริหารจัดการศึกษาวิถีใหม่แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564 นั้น ครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเห็นด้วยกับประเด็นรายการที่สอบถามโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการบริหารจัดการศึกษาวิถีใหม่แบบมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านโคกม่วง(ดำประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2564 นั้น ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้ทรงคุณวุฒิมีความพึงพอใจกับประเด็นรายการที่สอบถามโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมาก ครูมีความพึงพอใจกับประเด็นรายการที่สอบถามโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมาก กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจกับประเด็นรายการที่สอบถามโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองมีความพึงพอใจกับประเด็นรายการที่สอบถามโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากนักเรียนมีความพึงพอใจกับประเด็นรายการที่สอบถามโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผู้ทรงคุณวุฒิมีความพึงพอใจกับประเด็นรายการที่สอบถามโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะจากผลการประเมินด้านกระบวนการและด้านผลผลิตซึ่งอยู่ในระดับมาก เป็นผลที่เกิดจากด้านปัจจัย ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนให้ความร่วมมือหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินการก็จะส่งผลให้โครงการประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้นในการดำเนินโครงการต่างๆ จึงควรส่งเสริมผู้ที่รับผิดชอบหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนก่อนโดยเฉพาะผู้บริหารซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมาก ควรนำรูปแบบการประเมินโครงการไปใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนจะช่วยให้ทราบ จุดเด่น จุดด้อย ปัญหาและอุปสรรคของโครงการว่ามีอยู่เพียงใดควรแก้ไขอย่างไรหรือไม่และการดำเนินงานนั้นได้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติและปรับปรุงแก้ไขการดำเนินโครงการได้อย่างทันท่วงที ควรประเมินโครงการโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น ควรมีการประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบอื่นเพื่อจะได้ค้นพบจุดเด่นหรือจุดด้อยของแต่ละรูปแบบ และควรพัฒนาการประเมินโครงการให้เป็นลักษะการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่หลากหลาย