ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย
เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 13
ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
ชื่อผู้รายงาน นายนิรันดร์ มงคล
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
ปีที่รายงาน 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ครั้งนี้ได้ดำเนินการประเมินโดยประยุกต์ใช้ รูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มาเป็นแนวทางในการประเมิน มีวัตถุประสงค์ในการประเมินดังนี้ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context evaluation) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการ (Input evaluation) 3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการ (Process evaluation) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product evaluation)
ประชากรเป้าหมายที่เป็นแหล่งให้ข้อมูลในการประเมิน คือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ประกอบด้วย ครูผู้สอนภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 111 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามสำหรับครูผู้สอนภาษาไทยโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 40 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมิน ได้แก่ สถานภาพการปฏิบัติหน้าที่ เพศ วุฒิการศึกษา แบบประเมินเป็นลักษณะเลือกตอบ (Check List) ตอนที่ 2 แบบประเมินเกี่ยวกับการดำเนินโครงการเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับของลิเคอร์ท (Likert) ตามรูปแบบประเมิน CIPP Model มี 4 ด้านคือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการ (Process evaluation) ด้านผลผลิต (Product evaluation) ตอนที่ 3 เป็นข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เกี่ยวกับการประเมินโครงการ เป็นแบบปลายเปิด (Close Form) เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.08 และถ้าพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฏผลดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ โครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหา ของคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโรงเรียนและความต้องการของครู วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาสะสมและสอดคล้องกับการดำเนินการ รองลงมาได้แก่ การกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินการ และระยะเวลาในการดำเนินการมีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้จริง และการเตรียมการประสานงานระหว่างบุคลากรมีความเหมาะสม ทำให้เกิดความร่วมมือ ในการดำเนินโครงการ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การเตรียมการในการดำเนินงานเหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินโครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ โรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุน จากหน่วยงานต้นสังกัด รองลงมาได้แก่ เอกสาร/คู่มือในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ มีความเหมาะสมและเพียงพอ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการชัดเจน ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู และบุคลากรทุกฝ่าย ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คณะกรรมการ ดำเนินโครงการมีความรู้ความสามารถในการดำเนินโครงการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่มีการนิเทศติดตามการดำเนินโครงการตามขั้นตอนที่กำหนดทุกระยะ รองลงมาได้แก่ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามกำหนดระยะเวลา และการดำเนินกิจกรรมในโครงการเป็นไปตามขั้นตอนปฏิบัติงานทุกกิจกรรม ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการกำหนดแผนงาน/กิจกรรมพัฒนาไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุม
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น รองลงมาได้แก่ ครูสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในกระบวนการเรียน การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และครูสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ได้ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการประสานความร่วมมือและสนับสนุนการสร้าง องค์ความรู้จากภาคีเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้ด้านภาษาไทย
นอกจากนี้ ผลการทดสอบการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reding Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำแนกค่าเฉลี่ยตามสมรรถนะออกเป็น 2 ด้าน คือ 1) สมรรถนะด้านการอ่านออกเสียง มีค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 76.45 สูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 6.50 2) สมรรถนะด้านการอ่านรู้เรื่อง มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 70.49 ต่ำกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 2.30 และมีค่าเฉลี่ยสมรรถนะรวมทั้ง 2 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 73.47 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับประเทศกับระดับเขตพื้นที่การศึกษาสูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 2.09
ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ความสามารถด้านภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา น่าน เขต 1 ปีการศึกษา 2564 ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 54.47 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 6.18 และมีผลพัฒนาการเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 12.80
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 มีผลสำเร็จของสถานศึกษา ที่มีการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่เป็นเลิศ ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีรูปแบบ และนวัตกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความต้องการและบริบท สามารถเป็นแบบอย่างได้ (Best Practice) ในการส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ประจำปีงบประมาณ 2564 ตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ของโครงการ (Outcomes) จำนวนทั้งสิ้น 13 โรงเรียน