ชื่อผลงาน การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ผู้เรียน
โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางเนตรชนก แก้วดำ
ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ผู้เรียนโรงเรียน ปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 240 คน ครู จำนวน 32 คน ผู้ปกครอง จำนวน 240 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็น มาตราส่วน(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .928 - .980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Sociences) for Windows v.18
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม
สรุปผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดี ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.73, S.D. = .09) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.52, S.D. = .25) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า
สรุปผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดี ตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ =4.41, S.D. =.11) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงเท่ากัน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความพอเพียงของงบประมาณ ( x̄ = 4.58, S.D. =.21) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความพร้อมด้านบุคลากร ( x̄= 4.58, S.D. =.29) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมการบริหารจัดการ (x̄ =4.50, S.D. =.17) อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( x̄=4.08, S.D. =.21) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ
สรุปผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄=4.53, S.D. =.11) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.49, S.D.= .11) ในระดับมากได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ =4.48, S.D.= .10) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
สรุปผลการประเมินด้านผลผลิต ของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับระดับการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียน ปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.54, S.D. = .43) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการดำเนินโครงการ มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.55, S.D. =.45) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.56, S.D. = .38) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.47, S.D. = .08) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄= 4.45, S.D. = .09) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียน ปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 98.22 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 99.04 รองลงมา ได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย และรักความเป็นไทย มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.88 และ 98.08 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน และจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 97.92 และ 97.76 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจในโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ผู้เรียน โรงเรียนปะเหลียนผดุงศิษย์ ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x̄ = 4.56, S.D. = .17) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มครู ( x̄ = 4.54, S.D. =.27) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มนักเรียน และกลุ่ม ผู้ปกครอง ( x̄ = 4.49, S.D. = .16) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีตามอัตลักษณ์ผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่คุณลักษณะความเป็นคนดีอย่างยั่งยืน
1.2 ควรมีการขยายผลการดำเนินงานโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็น คนดีตามอัตลักษณ์ผู้เรียน
2.3 ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)