ชื่องานวิจัย การพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Inspiration-based Supervision within Professional Learning Community:IBS-PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างแรงบันดาลใจของครูและการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ผู้วิจัย นางสาวอรชพร มีพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเสด็จพิทยาคม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development; R&D) แบ่งเป็นจำนวน 3 วงรอบ ดังนี้
วงรอบที่ 1 Research 1: R1 การวิจัยเพื่อสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครู ผู้บริหารสถานศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษา Development 1: D1 การสร้างและการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสีเขียว (Green School) เพื่อพัฒนาสถานศึกษาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน
วงรอบที่ 2 Research 2: R2 การวิจัยรูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจของครูและการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา Development 2: D2 การพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจของครูและการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยใช้ข้อมูลวิจัยจาก Research 2 (R2)
วงรอบที่ 3 Research 3: R3 การวิจัยเพื่อศึกษาความเชื่อมั่น (reliability) และความคงเส้นคงวา (consistency) ด้วยการใช้ซ้ำรูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Development 3: D3 การพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจของครูและการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยใช้ข้อมูลวิจัยจาก Research 3 (R3) จนได้รูปแบบที่สมบูรณ์
สำหรับการวิจัยในแต่ละวงรอบของ R&D คือ R1, R2 และ R3 ใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method) ซึ่งประกอบไปด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research
วัตถุประสงค์ของวงรอบที่ 1 Research 1: R1 (1) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่ปรากฏในเอกสารที่เกี่ยวข้อง (3) เพื่อศึกษาลักษณะของรูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ใช้การวิจัยสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประชากร คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ และบันทึกการสนทนากลุ่ม
วัตถุประสงค์ของวงรอบที่ 2 Research 2: R2 (1) เพื่อศึกษาผลของการนำรูปแบบการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจของครูและการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจของครูและการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา เครื่องมือวิจัย เป็นแบบประเมิน 4 ชุด ซึ่งแบบประเมินมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.50 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการศึกษา (Case Study)
วัตถุประสงค์ของวงรอบที่ 3 Research 3: R3 เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจของครูและการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .91 ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในแบบสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจของครูและการสร้างเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 1) สร้างความตระหนักและจัดทำแผนการนิเทศเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ (Awareness) 2) การเตรียมความพร้อมก่อนการนิเทศเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ (Preparation) 3) การดำเนินการนิเทศเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration-based Supervision) 4) การสะท้อนคิดและประเมินผล (Reflection) 5) การสร้างขวัญและกำลังใจ (Encouragement) และ 6) การนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการนิเทศเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ (Sharing)