บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้าน
ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดใหม่หนองพะอง (ทับทองวิทยาธาร)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวดาว หงษ์เวียงจันทร์
ปีการศึกษา 2564
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดใหม่หนองพะอง (ทับทองวิทยาธาร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนวัดใหม่หนองพะอง (ทับทองวิทยาธาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครู 17 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 159 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 159 คน ในปีการศึกษา 2564 ใช้ตารางการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใชในการศึกษา เป็นแบบสอบถาม ที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น แบ่งเป็น 7 ฉบับ ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. การประเมินด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ความเป็นไปได้ของโครงการ มีความสอดคล้องและเหมาะสมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น ซึ่งประเด็นที่มีความสอดคล้องและเหมาะสมมากที่สุด คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ รองลงมา คือ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความเพียงพอและเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอน
3. การประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ระดับการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น และผู้ปกครอง
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต การดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ ด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ปี 2564 สูงกว่า ปี 2563 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด