รายงานการประเมินโครงการการพัฒนากีฬาฟุตซอลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการ (Context Evaluation) เกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ (2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) (3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation) (4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ จำนวน 10 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาทักษะด้านกีฬาฟุตซอล กิจกรรมสร้างสรรค์ เสริมสุขภาพกาย - ใจ ที่ดี กิจกรรมส่งเสริมการฝึกซ้อมกีฬาฟุตซอล กิจกรรมส่งเสริมการแข่งขันกีฬาฟุตซอลภายนอกสถานศึกษา กิจกรรมพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา กิจกรรมการสร้างความร่วมมือทางด้านกีฬาฟุตซอล กิจกรรมพัฒนาผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตซอล กิจกรรมพัฒนานักกีฬาฟุตซอลสู่อาชีพ กิจกรรมจัดหาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬาฟุตซอล กิจกรรมพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการฝึกซ้อมกีฬาฟุตซอล ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ และผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ ผลที่ปรากฏต่อนักเรียน ผลที่ปรากฏต่อครู ผลที่ปรากฏต่อผู้บริหาร และผลที่ปรากฏต่อสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน
ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรเครือข่าย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 4,333 คน และ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 4,659 คน ตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic Sampling Technique) รวมทั้งสิ้น ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 727 คน และ
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 735 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบประเมินบริบทของโครงการการพัฒนากีฬาฟุตซอลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ (สำหรับผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) (2) แบบประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการการพัฒนากีฬาฟุตซอลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ (สำหรับผู้บริหารและครู) (3) แบบประเมินกระบวนการของโครงการการพัฒนากีฬาฟุตซอลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ (สำหรับผู้บริหารและครู) (4) แบบประเมินผลผลิตโครงการการพัฒนากีฬาฟุตซอลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ (5) แบบบันทึกรางวัลของนักเรียน (6) แบบบันทึกรางวัลของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for independent) ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบท เกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการการพัฒนากีฬาฟุตซอลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ ปีการศึกษา 2563 2564 มีดังนี้
1.1 ปีการศึกษา 2563 ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.63, S.D. = 0.51)
1.2 ปีการศึกษา 2564 ผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.84, S.D. = 0.43)
1.3 ผลการประเมินด้านบริบทตามความคิดเห็นของผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นในปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.63, S.D. = 0.51) และปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.84, S.D. = 0.43) ซึ่งค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีการศึกษา 2563 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ การบริหารจัดการ ระยะเวลา การสนับสนุน และความร่วมมือของบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านกีฬา
ฟุตซอล สู่ความเป็นเลิศของนักเรียน โรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ ปีการศึกษา 2563 2564 มีดังนี้
2.1 ปีการศึกษา 2563 ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.47, S.D. = 0.60) เมื่อจำแนกเป็นรายกิจกรรม พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นโดยภาพรวมด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ปีการศึกษา 2564 ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับ(M = 4.72, S.D. = 0.56) เมื่อจำแนกเป็นรายกิจกรรม พบว่า ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นโดยภาพรวมด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นในปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมาก (M = 4.47, S.D. = 0.60) และปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.72, S.D. = 0.56) ซึ่งค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีการศึกษา 2563 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. การประเมินด้านกระบวนการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการ ผลการจัดกิจกรรมตามโครงการการพัฒนากีฬาฟุตซอลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ ปีการศึกษา 2563 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยกิจกรรมทั้ง 10 กิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 0.00, S.D. = 0.00) และปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 0.00, S.D. = 0.00) ซึ่งค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีการศึกษา 2563 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. การประเมินด้านผลผลิต มีดังนี้
4.1 ปีการศึกษา 2563 พบว่า ผู้บริหารและครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน
ผู้ปกรองนักเรียน และบุคลากรเครือข่าย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลสำเร็จของการดำเนินโครงการโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด (M =4.55, S.D.=0.48)
4.2 ปีการศึกษา 2564 พบว่า ผู้บริหารและครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน
ผู้ปกรองนักเรียน และบุคลากรเครือข่าย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลสำเร็จของการดำเนินโครงการโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด (M =4.67, S.D.=0.47)
4.3 ผลความสำเร็จของการดำเนินโครงการการพัฒนากีฬาฟุตซอลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ โดยภาพรวมปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับ มากที่สุด (M =4.55, S.D.=0.48) และปีการศึกษา 2564 อยู่ในระดับ มากที่สุด (M =4.67, S.D.=0.47) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4.4 ผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการการพัฒนากีฬาฟุตซอลเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนปทุมคงคา สมุทรปราการ ปีการศึกษา 2563 2564 ได้แก่ (1) ผลที่ปรากฏต่อนักเรียน นักเรียนได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตร จากการเข้าร่วมประกวดและแข่งขันกิจกรรมในระดับชาติ จำนวน 4รางวัล ระดับภูมิภาค จำนวน 2 รางวัล ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/จังหวัด จำนวน 4 รางวัล (2) ผลที่ปรากฏต่อครู ครูได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตร จากการเข้าร่วมประกวดและแข่งขันกิจกรรมในระดับชาติ จำนวน 4 รางวัล ระดับภูมิภาค จำนวน 2 รางวัล ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/จังหวัด จำนวน 4รางวัล (3) ผลที่ปรากฏต่อผู้บริหาร ผู้บริหารได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตร จากการเข้าร่วมประกวดและแข่งขันกิจกรรมในระดับชาติ จำนวน 3 รางวัล ระดับภูมิภาค จำนวน 2 รางวัล ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/จังหวัด จำนวน 2 รางวัล (4) ผลที่ปรากฏต่อสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน สถานศึกษาได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตร จากการเข้าร่วมประกวดและแข่งขันกิจกรรมในระดับชาติ จำนวน
4 รางวัล ระดับภูมิภาค จำนวน 2 รางวัล ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/จังหวัด จำนวน 4 รางวัล