บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายใน ประจำปีการศึกษา 2564 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยใช้รูปแบบ
CIPP Model มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ใน 4 ด้าน ดังนี้ 1. การประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation: C)
2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) 3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) และ 4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การประเมิน ได้แก่ครูผู้สอน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 265 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie& Morgan ส่วนการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยกำหนดกลุ่มครูผู้สอนและกลุ่มผู้ปกครองนักเรียน เพิ่มชั้นในการสุ่ม รวมทั้งสิ้น 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินโครงการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยใช้รูปแบบ CIPP Model
สรุปได้ดังนี้
ด้านสภาพแวดล้อม ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ โครงการนิเทศภายในเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน รองลงมาคือ วัตถุประสงค์โครงการได้ระบุถึงการให้ครูพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และโครงการนิเทศภายในมีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการของโรงเรียน, วัตถุประสงค์โครงการได้ระบุถึงการพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการเลือกและประยุกต์ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ และเทคโนโลยีได้เหมาะสม
กับเนื้อหาวิชา ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มีปฏิทินการดำเนินงานนิเทศภายในที่ชัดเจน รองลงมาคือ มีแผนการดำเนินงานนิเทศภายในและติดตามผลการดำเนินงานที่ชัดเจน, รูปแบบการปฏิบัติกิจกรรมนิเทศภายในมีความชัดเจน, มีการประชุมครูเพื่อจัดทำโครงการเสนอเข้าแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และมีการเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องพิเศษ ให้มีความพร้อมต่อการดำเนินงานนิเทศภายใน, มีการประชุมชี้แจงนโยบาย
ของผู้บริหารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ, มีสื่อและเครื่องมือในการนิเทศภายในที่มีความเหมาะสม
กับครูและสาระการเรียนรู้, คณะกรรมการนิเทศภายในของโรงเรียนมีความรู้ความสามารถ
ในการปฏิบัติงานนิเทศให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ โรงเรียนทำการประชุมปรึกษาหารือในการแก้ปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้, ผู้บริหารโรงเรียนดำเนินการนิเทศภายในโดยทางตรง เช่น การสังเกตการสอนในชั้นเรียน การตรวจเยี่ยมชั้นเรียน การให้คำปรึกษา ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมาคือ โรงเรียนมีการกำกับ ติดตาม และนิเทศการจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ, ผู้บริหารโรงเรียนใช้เทคนิค วิธีการนิเทศโดยทางอ้อมหลากหลายวิธี เช่น การประชุมสัมมนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ
การใช้สื่อประเภทต่าง ๆ, โรงเรียนมีการประเมินผลการนิเทศภายในเป็นระยะสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
นำผลการประเมินเป็นข้อมูลในการวางแผนและปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการ, มีการกำหนดขอบเขตบทบาทและหน้าที่ของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ, มีการให้ขวัญและกำลังใจแก่กลุ่มผู้รับการนิเทศ, มีการแจ้งผลการนิเทศภายในให้ครูได้รับทราบเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และคณะกรรมการนิเทศภายในมี การใช้เครื่องมือ แบบบันทึก และสื่อต่าง ๆ ประกอบการนิเทศภายใน, โรงเรียนจัดให้มีการประเมินคณะทำงานและประเมินบุคลากรรายบุคคล,
มีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ทุกระดับชั้น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต ระดับความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ครูจัดบรรยากาศทั้งในและนอกห้องเรียน
ที่เอื้อต่อการเรียนรู้, ผู้บริหารโรงเรียนมีการวางแผนโครงการของโรงเรียนอย่างชัดเจนและควบคุม
การดำเนินงานตามแผน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมาคือ ผู้บริหารโรงเรียนเอาใจใส่
ดูแลการจัดการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ให้ถูกต้องตามระเบียบ, โรงเรียนมีแผนงานโครงการนิเทศภายในอย่างชัดเจนและครอบคลุมภารกิจ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และนักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้, ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้
อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง, ครูปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ, ผู้บริหารโรงเรียนจัดแบ่งงานและมอบหมายหน้าที่ให้บุคลากรตามความถนัด ความรู้ความสามารถ และความสนใจ
ของแต่ละคน, โรงเรียนสามารถพัฒนาการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ตามลำดับ
สำหรับระดับความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข รองลงมา นักเรียนมีสุขภาพจิตดี และนักเรียนมีสุขภาพกายที่ดี ตามลำดับ