รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อกาเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 จากการศึกษาสภาพปัญหา และความจำเป็นก่อนดำเนินโครงการของโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ โดยคัดมาจากข้อมูลตามสภาพจริง สารสนเทศจากการสรุปรายงานของงานอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และผลการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่าปัญหาเร่งด่วนของโรงเรียนมี ดังนี้
1. สภาพปัญหาด้านอาคารสถานที่ อาคารเรียน อาคารประกอบ ภูมิทัศน์ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านสภาพทางกายภาพของโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ มีสภาพของอาคารเรียนที่เก่าชำรุด และอาคารประกอบในการสนับสนุนการเรียนการสอนในบางรายวิชา มีสภาพที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค การบริหารจัดการขยะ และการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยยังไม่ได้มาตรฐาน งบประมาณในการซ่อมบำรุง ปรับปรุง พัฒนา อาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมไม่เพียงพอ ส่งผลให้อาคารสถานที่และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ มีสภาพชำรุด เสียหาย และไม่สามารถใช้งานได้บางส่วน โดยเฉพาะภูมิทัศน์ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ อันเกิดจากการขาดการพัฒนาซ่อมแซม ดูแล และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
2. สภาพปัญหาด้านคุณลักษณะ จิตอาสา ของผู้เรียนที่มีส่วนเกี่ยวข้องคาดหวัง และเป็นจุดเน้นที่โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์กำหนด
3. สภาพปัญหาด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อการเสริมสร้างจิตอาสาของนักเรียน
จากสภาพปัญหาข้างต้น ผู้บริหารได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จึงได้ประชุมผู้เกี่ยวข้องโดยการจัดกลุ่มสนทนา (Focus Group) เพื่อสร้างความตระหนักถึงสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น และแนวทางการพัฒนาจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ได้มีข้อเสนอแนะในการพัฒนาที่ต้นเหตุเป็นสำคัญ นั่นคือ จิตอาสา ที่อยากให้เกิดแก่นักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564
กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 ผู้รายงานได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณค่าของเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกตามระดับชั้น และสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีจับฉลาก ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 234 คน ประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 563 คน ครูผู้ปฏิบัติการสอนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 550 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือประเภทแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) พร้อมคำถามปลายเปิด (Open Ended Questionair)
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการ/ความจำเป็น ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบาย และด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D.= .24 และ = 4.59, S.D.= .22) ได้คะแนนรวม 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D.=.36) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ การวางแผน (P) การดำเนินการ (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา (A) ภาพรวม พบว่า ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.91, S.D. = .25) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.91, S.D. = .25) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2. ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93, S.D.= .23) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของ ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, S.D.= .28) ได้คะแนน รวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.94, S.D.= .22) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตอาสาของนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. โรงเรียนอื่น ๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์ ควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ของครู เพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์รวมการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูล และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนกับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สู่คุณภาพผู้เรียน
5. ควรศึกษารูปแบบการเสริมสร้างจิตอาสาของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา