ชื่อเรื่อง ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ผู้รายงาน นางสาวไอลดา สีสำลี
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2564
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ในการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) การดำเนินงานของโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ที่ได้จากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ จำนวน 44 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ของโรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม เรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 แบบสอบถามโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาฯ ชุดที่ 2 แบบสอบถามโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวัดชินวราราม(เจริญผลวิทยาเวศม์) อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 1- 6 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) พบว่า ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาฯ มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61; S.D.=0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ โครงการเหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์ของสังคมปัจจุบัน ( =4.77; S.D.=0.43) ความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ( =4.71; S.D.=0.64) และความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( =4.66; S.D.=0.48) ตามลำดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ โครงการเหมาะสมกับศักยภาพและทรัพยากรของโรงเรียนและชุมชน ( =4.51; S.D.=0.51)
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) พบว่า ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาฯ มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58; S.D.=0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 11 ข้อ และ มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำชุมชนให้การสนับสนุนและเป็นผู้นำโครงการ ( =4.74; S.D.=0.44) การสนับสนุนของผู้ปกครองด้านงบประมาณ ( =4.71; S.D.=0.46) และสถานที่ดำเนินโครงการเพียงพอและเหมาะสม ( =4.66; S.D.=0.59) ตามลำดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ งบประมาณดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนเพียงพอและเหมาะสม มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ( =4.43; S.D.=0.65)
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาฯ มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65; S.D.=0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลายครบทุกกิจกรรม ( =4.83; S.D.=0.38) มีการกำหนดขั้นตอน รายละเอียดและวิธีดำเนินโครงการ อย่างชัดเจนและเหมาะสม ( =4.80; S.D.=0.47) และขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการ ดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง ( =4.77; S.D.=0.43) ตามลำดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ มีการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม ( =4.51; S.D.=0.61)
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาฯ มีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66; S.D.=0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์และคุณธรรมจริยธรรมที่โรงเรียนกำหนด ( =4.74; S.D.=0.51) ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์และคุณธรรมจริยธรรมที่โรงเรียนกำหนด ( =4.71; S.D.=0.52) และผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ( =4.66; S.D.=0.54) ตามลำดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในเป้าหมายของโครงการฯ ( =4.51; S.D.=0.61) ส่วนผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61; S.D.=0.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านรอบคอบจิตอาสา ( =4.63; S.D.=0.40) ด้านมีความรับผิดชอบ ( =4.63; S.D.=0.41) และด้านมีวินัย ( =4.60; S.D.=0.38) ตามลำดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ ด้านมีความพอเพียง ( =4.57; S.D.=0.44) และผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60; S.D.=0.30) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ กระบวนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมพัฒนานักเรียนได้ ( =4.68; S.D.=0.52) กระบวนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนมีขั้นตอนที่เหมาะสม ( =4.67; S.D.=0.47) และหลังจากที่นักเรียนเข้าร่วมโครงการนักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ( =4.64; S.D.=0.58) ตามลำดับ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ หลังจากที่นักเรียนเข้าร่วมโครงการนักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมด้านรู้จักบทบาทหน้าที่ ( =4.51; S.D.=0.60)