รายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom action research: CAR )
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา การใช้ห้องสมุดเพื่อการสืบค้นและนำเสนอ เรื่อง การใช้หนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ในการส่งเสริมการอ่าน โดยการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสมจิตต์ กิจประเสริฐ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สอนวิชา การใช้ห้องสมุดเพื่อการสืบค้นและนำเสนอ รหัสวิชา ท31201 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2579) เป็นแผนระยะยาวภายใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ยังยึด คน เป็นศูนย์กลางการพัฒนา และมีหลักสำคัญในการจัดการศึกษา ประกอบด้วย หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (InclusiveEducation) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs2030) มีวิสัยทัศน์ คือ คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 3) เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง
จากแผนการศึกษาแห่งชาติ สู้การวางเป้าหมายไว้ 2 ด้าน คือ 1) เป้าหมายด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ประกอบด้วย ทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้ (1) 3Rs ได้แก่ การอ่านออก(Reading) การเขียนได้ (Writing) และการคิดเลขเป็น (Arithmetics) (2) 8Cs ได้แก่ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม(Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Crosscultural Understanding)ทักษะด้านความร่วมมือ การงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทำทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และการรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560 : จ-ฉ) ซึ่ง สอดคล้องกับเป้าหมายการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552 : 3-4)
ดังนั้น การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด คุณภาพการศึกษาเป็นภาพรวมของผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการเรียนรู้ตามหลักสูตรทั้งในด้านความรู้ความสามารถ ทักษะปฏิบัติ และคุณธรรมจริยธรรมตามที่ผู้เรียนแต่ละระดับได้รับการพัฒนา (สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2553 : 1) ดังที่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552 :4) จะเห็นได้ว่า คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนการ บรรลุเป้าหมาย และผลของการจัดการศึกษา
การทำวิจัยในครั้งนี้ ได้มีการนำหลักการหลักการของ การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา ในการส่งเสริมให้นักเรียนอ่านผ่านระบบหนังสือ อิเล็กทอกนิสกส์ (E-Book) ผสมผสานกับการจัดกิจกรรมในห้องเรียน เนื่องจากเวลาในห้องเรียนมีจำกัด การที่จะให้นักเรียนเข้าใจในหลักการความรู้บางอย่างอาจมีเวลาไม่พอ ดังนั้นการศึกษาความรู้จากการสอนผ่านวีดีโอที่ครูได้บันทึกไว้แล้ว รวมทั้งการอ่านหนังสือเพิ่มเติม ปรึกษาเพื่อนหรือครูออนไลน์ สามารถทำได้ล่วงหน้านอกห้องเรียน ส่วนเวลาในห้องเรียน ครูก็สร้างสภาวะแวดล้อมให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมที่ออกแบบไว้ เพื่อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ครูก็เดินสำรวจไปรอบๆ ห้อง คอยให้คำแนะนำหลักการที่เข้าใจยาก หรือปัญหาที่เด็กพบ วิธีนี้จะทำให้เด็กเข้าใจความรู้ และเชื่อมโยงในหลักการที่ถูกต้อง
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น
2.เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน
3. ขอบเขตของการวิจัย
3.1 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน จำนวน 10 คน
3.2 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
การศึกษาค้นคว้า ในรายวิชาการใช้ห้องสมุดเพื่อการสืบค้นและนำเสนอ
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 เรื่อง ทักษะการอ่าน E-book
3.3 ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ ระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-book
ตัวแปรตาม คือ ทักษะการอ่านหนังสือ
4. วิธีดำเนินการวิจัย
4.1 การใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 Book E-Library
4.2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน เรื่อง ทักษะการอ่าน จำนวน 20 ข้อโดยการจัดกิจกรรมการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน Flipped Classroom
4.3 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์หาคุณภาพขอเครื่องมือดังต่อไปนี้
1.การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าดัชนีมีความสอดคล้อง หรือค่า IOC (Index of Item-Objective Congruence) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนแบบของจำลอง จากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด,2545)
2.หาค่าความเชื่อมั่น ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีสูตรคำนวณ ดังนี้
คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน สูตร KP-20 (เยาวดี
วิบูลย์ศรี,2545)
คำนวณหาความยากง่าย(p) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ การวิเคราะห์ ความยากง่าย เป็น
การวิเคราะห์รายข้อ ใช้สูตร (เยาวดี วิบูลย์ศรี,2545)
คำนวณหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การหาอำนาจจำแนก เป็น
การดูความเหมาะสมของรายข้อว่า ข้อคำถามสามารถจำแนกกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนได้จริง หรือจำแนกผู้ที่มีคุณลักษณะสูงจากผู้มีคุณลักษณะต่ำได้ใช้สูตร (เยาวดี วิบูลย์ศรี,2545)
5. ผลการวิจัย
ผลการเปรียบเทียบข้อมูลผลสัมฤทธิ์โดยการใช้แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
ตารางที่ 5.1 แสดงผลต่างของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8
โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 คน
นักเรียนคนที่ คะแนนก่อนเรียน(10 คะแนน) คะแนนหลังเรียน (10 คะแนน) ผลต่าง เทียบกับเกณฑ์ 80 %
ผ่าน ไม่ผ่าน
1 2 9 6 ผ่าน
2 3 9 6 ผ่าน
3 3 9 6 ผ่าน
4 3 9 6 ผ่าน
5 2 10 8 ผ่าน
6 2 8 5 ผ่าน
7 2 10 8 ผ่าน
8 2 9 7 ผ่าน
9 3 8 5 ผ่าน
10 4 10 6 ผ่าน
จากตารางที่ 5.1 พบว่า ผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 คน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าต่างกันโดยหลังจากที่ใด้ระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ผลพบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน นักเรียนที่นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ มีจำนวน 10 คน คิดเป็น 100%
6. ข้อเสนอแนะ
ควรนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการอ่านที่ดี มีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน จึงควรส่งเสริมนำไปจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในทุกห้องเรียน
7. ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น
2 นักเรียนสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ใช้งานในการส่งเสริมการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ครูได้ใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้านให้เกิดการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ