บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชัย ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1. ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) 2. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 3. ด้านผลผลิต(Output Evaluation) และ4. ด้านผลลัพธ์ (Output Evaluation) ดยใช้รูปแบบการประเมิน IPOO (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, 2551 : 209) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการประเมิน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 66 คน และนักเรียนโรงเรียนเอกชัยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน1,545 คน โดยศึกษาจากประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 5 รายการ ได้แก่ แบบสอบถามประเมินด้านปัจจัยนำเข้า แบบสอบถามประเมินด้านกระบวนการ แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียน การสอนของครู แบบสรุปบันทึกผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกระดับชั้น และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชัย พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวมมีความพร้อม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72 =0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านวัสดุและทรัพยากร มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด
2. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านด้านกระบวนการของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชัย
ปีการศึกษา 2564 พบว่า ด้านกระบวนการ ภาพรวมมีการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70 = 0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน ขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นการวางแผนงาน (Plan) รองลงมา ได้แก่ ขั้นการตรวจสอบ (Check) ขั้นดำเนินงาน (Do) และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ขั้นการปรับปรุงแก้ไข (Act)
3. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Output Evaluation) เป็นผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการ แบ่งออกเป็น 2 รายการคือ
3.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการนิเทศภายในโรงเรียน
เอกชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร เกี่ยวกับผลประเมินพฤติกรรมด้านการสอนของครู ในภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( =4.71 =0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการมอบหมายงานหรือกิจกรรม รองลงมา 3 ลำดับ ได้แก่ ขั้นเตรียมการสอน การวัดผลประเมินผล และบุคลิกภาพของครูในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ขั้นกระบวนการเรียนการสอน
3.2 ผลประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 แยกตามรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเอกชัย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมเฉลี่ย 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 81.25 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รองลงมากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ภาษาอังกฤษ
4. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcome Evaluation)
ผลการประเมินด้านผลลัพธ์เกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชัย ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.74 =0.43) และเมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า บรรยากาศการนิเทศภายในโรงเรียนและระยะเวลาในการประเมินผล มีระดับของความพึงพอใจสูงสุด ( = 4.89 =0.31) รองลงมาได้แก่ การปฏิบัติตามกำหนดในปฏิทินปฏิบัติงานและนักเรียนมีความร่วมมือในการปฏิบัติงานดีขึ้น( =4.88 =0.33) และผู้รับผิดชอบโครงการนิเทศภายใน และครู ให้การยอมรับซึ่งกันและกัน ( =4.79 =0.41)