ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการ 6A โรงเรียนบ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา สกลนคร เขต 3
ผู้วิจัย นายแดนไพร สีมาคาม
ปี พ.ศ. ที่ทำวิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กระบวนการ 6A โรงเรียนบ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 สร้างและพัฒนากระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 และศึกษา
ผลการทดลองใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 มาเป็นแนวทางเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย สร้างเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล
รวมทั้งการสร้างและพัฒนากระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนากระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียน
บ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 และระยะที่ 4 ศึกษาผลการทดลองใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มี 6 ขั้นตอน
ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) การกำหนดเป้าหมายและความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3) การสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4) การจัดการเรียนการสอน 5) การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล และ 6) การจัดกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งทั้ง 6 ขั้นตอนมีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกขั้นตอน โดยขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการกำหนดเป้าหมายและความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 5.00) รองลงมาคือ การสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.80) ส่วนขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล และการจัดกิจกรรมเสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.60)
2. สภาพการดำเนินงานตามกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การกำหนดเป้าหมายและความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ( = 3.44) รองลงมาคือ การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล ( = 3.41) ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การจัดการเรียนการสอน ( = 3.24)
3. กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 คือ กระบวนการ 6A ประกอบด้วย A1 (Analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน A2 (Aims) การกำหนดเป้าหมายและความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน A3 (Awareness) การสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน A4 (Active Learning) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก A5 (Assessment) การประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และA6 (Addition) การเสริมเติมความรู้ ซึ่งกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน โรงเรียนบ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 มีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกขั้นตอน โดยขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (Assessment : A5) ( = 4.85) รองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning : A4) ( = 4.80) การเสริมเติมความรู้ (Addition : A6)
( = 4.75) การกำหนดเป้าหมายสู่ความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (Aims : A2) ( = 4.73) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (Analysis : A1) ( = 4.67) และการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (Awareness : A3) ( = 4.65) ตามลำดับ
4. ผลการทดลองใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนบ้านขาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โดยรวมทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 12.74 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.22 รองลงมา คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.15 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.66 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.97 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.71 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.30 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.33 ตามลำดับ ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของ
ผู้เรียน (Reading Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 เฉลี่ยร้อยละ 7.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถ ในปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ทุกด้าน โดยด้านที่ค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ ด้านการอ่านรู้เรื่อง เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10.05 รองลงมา คือ ด้านการอ่อนออกเสียง เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.10 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในระดับเขตพื้นที่ สพฐ. และประเทศ พบว่า โรงเรียนบ้านขาม มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าทุกระดับทั้งโดยรวมและรายด้าน ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 เฉลี่ยร้อยละ 61.24 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถ ในปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ทุกด้าน โดยด้านที่ค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ ด้านคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 70.54 รองลงมา คือ ด้านภาษาไทย เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 52.99 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในระดับเขตพื้นที่ สพฐ. และประเทศ พบว่า โรงเรียนบ้านขามมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าทุกระดับ ทั้งโดยรวมและรายด้าน และค่าคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test : O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีการศึกษา 2563 เฉลี่ยร้อยละ 16.59 เมื่อพิจารณาเป็นรายวิชา พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติเพิ่มขึ้น 3 วิชา และลดลง 1 วิชา โดยวิชาที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2564 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 สูงสุด คือ วิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 80.80 รองลงมา คือ วิชาภาษาอังกฤษ เฉลี่ยร้อยละ 17.45 และวิชาวิทยาศาสตร์ เฉลี่ยร้อยละ 2.92 ตามลำดับ ส่วนวิชาที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยปีการศึกษา 2564 ลดลงจากปีการศึกษา 2563 คือ วิชาภาษาไทย ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.08 และเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในระดับเขตพื้นที่ สพฐ. และประเทศ พบว่า โรงเรียนบ้านขาม มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าทุกระดับ ทั้งโดยรวมและรายวิชา