เรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3
ผู้วิจัย นางสาวสุนิศา วัฒนะ
สังกัด โรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการศึกษา 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน ผู้บริหาร-ครูจำนวน 34 คน ผู้ปกครองจำนวน 236 คน และนักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล จำนวน 236 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ (Yamane) และคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยแยกตาม ตำแหน่งได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 527 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 เป็น แบบสอบถามสำหรับกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งมีทั้งหมด 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการศึกษาพบว่า การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล มีผลการประเมินรายด้าน ดังนี้
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ของโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือด้านปัจจัยนำเข้า ด้านผลผลิต และด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยมีผลการประเมินรายด้าน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล โดยภาพรวมผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีผลการประเมินค่าเฉลี่ยสูงสุด คือโครงการมีกิจกรรมที่ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนทุกระดับชั้น การประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และรองลงมา คือ โครงการกำหนดกิจกรรมการดำเนินงานที่ ชัดเจน เหมาะสม การประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับหลักสูตรและนโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเทียบกับเกณฑ์การประเมินแล้ว โดยภาพรวมแล้วผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล พบว่า โดยภาพรวมผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยผลการประเมินค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสถานที่ ผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ต่อมาเป็นด้านวัสดุอุปกรณ์ การประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านงบประมาณ ผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเทียบกับเกณฑ์การประเมินแล้ว โดยภาพรวมแล้วผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ด้าน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล พบว่า โดยภาพรวมผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการประเมินผล ผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการวางแผนการจัดกิจกรรม ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการดำเนินกิจกรรม ผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเทียบกับเกณฑ์การประเมินแล้ว พบว่า โดยภาพรวมแล้วผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ด้าน
4. ผลการประเมินด้านด้านผลผลิต(Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนชุมชนบ้านวังพิกุล พบว่า ระดับความคิดเห็นในด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยภาพรวมผลการประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่าน หนังสือและสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ การประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และรองลงมา คือ นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน การประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนอ่านหนังสือก่อนนอนเป็นประจำ การประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเทียบกับเกณฑ์การประเมินแล้ว พบว่า โดยภาพรวมแล้วผ่านเกณฑ์การประเมิน