ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน โรงเรียนวัดห้วยจระเข้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวอัมพร ชุนถนอม รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม
ปีที่ประเมิน : 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน โรงเรียน วัดห้วยจรเข้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ตามรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ใน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ของโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 751 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร 3 คน ครูผู้สอน 81 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน นักเรียน 327 คน และผู้ปกครอง 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ 1) แบบประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินผลโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน ด้านบริบท มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ฉบับที่ 2 แบบประเมินผลโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 ฉบับที่ 3 แบบประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน ด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 ฉบับที่ 4 แบบประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน ด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน โรงเรียน วัดห้วยจรเข้วิทยาคม พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านผลผลิตมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้ามี ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านบริบทมีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ผลการประเมินรายด้าน สรุปได้ดังนี้
ด้านบริบท (Context Evaluation) โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน มีการแต่งตั้ง บุคลากรรับผิดชอบอย่างชัดเจน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน มีความเหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ของโรงเรียน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน มีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้ปกครอง/ชุมชน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน เหมาะสมกับศักยภาพ และทรัพยากรของโรงเรียนและชุมชน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน สอดคล้องนโยบาย วิสัยทัศน์ของโรงเรียน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน สอดคล้องกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน มีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการ/ความสนใจของนักเรียน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน เหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์ ของสังคมในปัจจุบัน โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ต้นสังกัด โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน เหมาะสมสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาองค์ประกอบเป็นรายด้าน พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี ด้านงบประมาณ ด้านผู้บริหาร ด้านนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานต้นสังกัด ด้านครูผู้สอน ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ
ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาองค์ประกอบเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตรวจสอบประเมินผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการดำเนินงานตามแผน การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ด้านการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และด้านการวางแผนการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ตามลำดับ
ด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปน้อย ได้แก่ ด้านการควบคุมดูแลแหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ ด้านการใช้แหล่งเรียนรู้ ด้านการประเมินผลแหล่งเรียนรู้และด้านการบำรุงรักษาแหล่งเรียนรู้ตามลำดับ
ผลการประเมินความพึงพอใจ ของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า มีความพึงพอใจ ต่อการดำเนินการโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณากลุ่มผู้ให้ข้อมูล พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุดทุกกลุ่ม โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ผู้บริหาร ผู้ปกครอง นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน ตามลำดับ