การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนสตรีภูเก็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนสตรีภูเก็ต อย่างเป็นระบบ 5 ด้าน คือ 1) ประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนสตรีภูเก็ต เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง นโยบายและจุดเน้นของโรงเรียน และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนสตรีภูเก็ตเกี่ยวกับสภาพความพร้อมของครูและบุคลากร อาคารสถานที่ ความพอเพียงของงบประมาณ และความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการ 3) ประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนสตรีภูเก็ตเกี่ยวกับการดำเนินการ จัดกิจกรรมการพัฒนาครูและบุคลากร การนิเทศติดตามประเมินผล 4) ประเมินผลลัพธ์ของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนสตรีภูเก็ต เกี่ยวกับการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนแบบโครงงาน การสอนแบบร่วมมือ ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน และความพึงพอใจของครูผู้สอน ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครองและความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5) ประเมินผลกระทบของโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนสตรีภูเก็ต เกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน พฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ของผู้เรียน ความรู้ความสามารถในการทำโครงงานของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รวบรวมข้อมูล จากแบบสอบถาม ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 49 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 338 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 338 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน รวมทั้งหมด 738 คน และกลุ่มเป้าหมายที่สัมภาษณ์ ได้แก่ ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 25 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลบริบท ตัวชี้วัด ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ และเก็บรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ ผลกระทบ จากแบบบันทึก แบบรายงาน ซึ่งผลการประเมินโครงการ ปรากฏผล ดังนี้
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนสตรีภูเก็ต พบว่า ภาพรวมทั้งโครงการ อยู่ในระดับมาก โดยผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ซึ่งผลการประเมินเป็นรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ ดังนี้
1. การประเมินบริบท ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโครงการ ส่วนผลการประเมินบริบท ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์
2. ด้านผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้า พบว่า ผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้า ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความพร้อมของบุคลากร อาคารสถานที่มีความพร้อมและพอเพียงในการจัดกิจกรรม และ ความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการส่วนผลการประเมินปัจจัยป้อนเข้า ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวม ในระดับมาก เมื่อพิจารณา ตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความพร้อมของบุคลากร อาคารสถานที่มีความพร้อมและพอเพียงในการจัดกิจกรรม และความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินโครงการ
3. ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า ผลการประเมินกระบวนการตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือการดำเนินการการพัฒนาบุคลากรและการนิเทศติดตามประเมินผล และผลการประเมินกระบวนการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือการดำเนินการ การพัฒนาบุคลากร การนิเทศติดตามประเมินผล
4. ผลการประเมินผลลัพธ์ พบว่า ผลการประเมินผลลัพธ์ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การสอนแบบโครงงาน การใช้แหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมการสอนแบบร่วมมือ และการวิจัยในชั้นเรียน ส่วนผลการประเมินผลลัพธ์ ตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ภาพรวม ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การสอนแบบโครงงาน การใช้แหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมการสอนแบบร่วมมือ นอกจากนี้ ผลการประเมินผลลัพธ์ ตัวชี้วัดความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-6 และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
1.5 ผลการประเมินผลกระทบ พบว่า ผลการประเมินผลกระทบตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ พฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ของผู้เรียน พฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน ความรู้ความสามารถในการทำโครงงานของผู้เรียน พฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ผลการประเมินผลกระทบตามความคิดเห็นของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ พฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ของผู้เรียน พฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พฤติกรรมการใช้แหล่งการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน ความรู้ความสามารถในการทำโครงงานของผู้เรียน
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนสตรีภูเก็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง พบว่า โครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและตัวชี้วัด โรงเรียนควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป และเพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรนำผลการประเมิน บางประเด็น หรือบางตัวชี้วัด ไปปรับปรุงพัฒนา ดังนี้
1. ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า การนิเทศติดตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานโครงการมีประสิทธิภาพ และเกิดการมีส่วนร่วมรวมพลังอย่างแท้จริง ของผู้มีส่วนได้เสีย จึงควรให้ความสำคัญ โดยให้ผู้มีส่วนได้เสีย เข้ามามีส่วนร่วมในการนิเทศ ตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดโครงการ และดำเนินการอย่างเป็นระบบมีแผนหรือปฏิทินการนิเทศที่ชัดเจน
2. ผลการประเมินผลลัพธ์ของโครงการ สิ่งที่ต้องการให้เกิด คือผลสัมฤทธิ์เพิ่มสูงขึ้น และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียตลอดจนทักษะการใช้แหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้น ควรเร่งรัดให้ครูพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ตลอดจนสนับสนุน อำนวยความสะดวก ซึ่งจะทำให้ ผู้มีส่วนได้เสียเกิดความพึงพอใจมากขึ้น