รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคำโองวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ คือ 1) เพื่อประเมินความสอดคล้องด้านสภาวะแวดล้อม (Context) 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) และ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ประชากรที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวน 130 คน ประกอบด้วย คณะครูโรงเรียนคำโองวิทยา จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน โดยยกเว้นผู้บริหาร และตัวแทนครู ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 58 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 58 คน ระยะเวลาในการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2564 โดยเริ่มจากวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ IOC หาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และสัมประสิทธิ์แอลฟา หาความเที่ยงของแบบสอบถาม
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคำโองวิทยา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ปีการศึกษา 2564 โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านผลผลิต (Product) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input)
1) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากมากไปหา
น้อย สามอันดับแรก ได้แก่ ความจำเป็นของโครงการ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการ มีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และความเป็นไปได้ (เป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและผู้ปกครอง) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ ความเหมาะสมด้านการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ความสามารถของครูประจำชั้นในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และความเหมาะสมในการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และกิจกรรมการป้องกันและแก้ไข อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4) ด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับแรก ได้แก่ โรงเรียนได้ดำเนินการให้ความรู้เรื่องระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้กับบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และโรงเรียนได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
คำสำคัญ: การประเมินผลโครงการ, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, CIPP Model