ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนบ้านคันธทรัพย์
ผู้ศึกษา นายสุทัศน์ ทิพย์กรรณ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านคันธทรัพย์
ปีการศึกษา 2564
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนบ้านคันธทรัพย์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนบ้านคันธทรัพย์ เกี่ยวกับความต้องการ ความสอดคล้อง ความเหมาะสม ของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายโครงการ2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัสดุ ครุภัณฑ์ ความพอเพียงของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เกี่ยวกับกระบวนการวางแผน การดำเนินงาน การดำเนินงานตามแผนและการประเมินผลของโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 4.1)ผลการดำเนินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 4.2)ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครอง 4.3)ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาและครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 371 คน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ด้านบริบท ภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = .59) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 10 โครงการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์ให้แก่ชุมชน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = .49) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก คือ ข้อ 3 หลักการและเหตุผลโครงการสอดคล้องสภาพปัญหาของโรงเรียน มีค่าเฉลี่ย =4.15, S.D. = .54
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = .58) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 1 โรงเรียนมีความเหมาะสมด้านครู บุคลากรและวิทยากรเพียงพอเพื่อดำเนินโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = .49) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ข้อ 6 งบประมาณแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D. = .68)
3. ด้านกระบวนการ ภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = .58) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 11 การทำป้ายชื่อพรรณไม้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = .49) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 14 การรายงานผลการเรียนรู้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D. = .52)
4. การประเมินผลผลิต 4.1)การดำเนินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = .58) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ 16 ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักและเห็นคุณค่าของธรรมชาติ ( = 4.69, S.D. = .47) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ข้อ 5 นักเรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ เกี่ยวกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = .59) 4.2)ความพึงพอใจจากการดำเนินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ของนักเรียนและผู้ปกครอง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = .60) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ 2 สภาพทั่วไปของโรงเรียนมีความเป็นระเบียบ ( = 4.56, S.D. = .54) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 5 โรงเรียนมีสวนพฤกษศาสตร์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีผลการประเมินในระดับมาก ( = 4.24, S.D. = .60) 4.3)ความพึงพอใจจากการดำเนินโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D. = .55) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ข้อ 2 สภาพทั่วไปของโรงเรียนมีความเป็นระเบียบ ( = 4.69, S.D. = .47) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 4 นักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดของแหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = .68)