ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความโดยใช้รูปแบบผังความคิด (Concept mapping) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
ผู้วิจัย นางสาวพิชญ์นารา รักหฤทัย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเขียนเรียงความเป็นการเขียนบรรยาย เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก หรือประสบการณ์ของผู้เขียนสู่ผู้อ่าน การเขียนเรียงความผู้เขียนจะต้องเรียบเรียงด้วยสำนวนภาษาของผู้เขียนเอง โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัดสละสลวย และจูงใจให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสนใจ จากการจัดการเรียนการรู้ให้นักเรียนเขียนเรียงความจะพบปัญหาว่า นักเรียนไม่สามารถเขียนเรียงความได้ เนื่องจากไม่สามารถเริ่มต้นการเขียนเรียงความได้ไม่สามารถเขียนได้ต่อเนื่องเป็นเรื่องราวเดียวกันได้ ข้อความหรือเรื่องที่เขียนมีใจความวกวนไม่สามารถจบเรื่องได้ ทำให้เรื่องเขียนไม่น่าสนใจ ใช้สำนวนภาษาการพูดในการเขียน และเกิดเจตคติที่ไม่ดีต่อการเขียนเรียงความ
ดังนั้นผู้วิจัยจึงตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ จึงได้จัดทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเขียนเรียงความและเขียนได้ดียิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบผังความคิด (Concept mapping) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนเรียงความ วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท31102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ โดยใช้รูปแบบผังความคิด (Concept mapping) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนเรียงความ วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท31102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ โดยใช้รูปแบบผังความคิด (Concept mapping) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน
สมมติฐานของการวิจัย
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนเรียงความ วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท31102 ที่เรียนด้วยรูปแบบผังความคิด (Concept mapping) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
1. กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 185 คน
2. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน
3. ตัวแปรในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้มีตัวแปร ดังนี้
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การพัฒนาการเขียนเรียงความโดยใช้รูปแบบผังความคิด (Concept mapping) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนเรียงความ วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท31102
4. เนื้อหาสาระที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การเขียนเรียงความ
5. ระยะเวลาในการวิจัยครั้งนี้ ใช้เวลา 4 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 2 สัปดาห์
ระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
6. สถานที่ในการวิจัย โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
7. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ฯลฯ
ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. ได้แนวทางการจัดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบผังความคิด (Concept mapping) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ เรื่อง การเขียนเรียงความ วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท31102 ที่เรียนด้วย รูปแบบผังความคิด (Concept mapping) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนเรียงความ วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท31102 สูงขึ้น