ผู้รายงาน นางดวงทิวา เทพปัญญา
ระยะเวลาการประเมินโครงการ ปีงบประมาณ 2565
บทสรุปผู้บริหาร
การรายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี โดยใช้รูปแบบการประเมินวงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ของเดมมิ่ง (Deming Cycle) ประกอบด้วย ด้านการวางแผนปฏิบัติการ (Plan) ด้านการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด (Do) ด้านการตรวจสอบและประเมินผล (Check) และด้านการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ได้มาตรฐาน (Act) และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม เรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการประเมินพบว่า
1. กระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี ภาพรวมทุกด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= 0.40) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการวางแผนปฏิบัติการ (Plan) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.= 0.47) รองลงมาคือ ด้านการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ได้มาตรฐาน (Act) การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= 0.50) และด้านการตรวจสอบและประเมินผล (Check) การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D.= 0.45) ตามลำดับ และอันดับสุดท้าย ด้านการวางแผนปฏิบัติการ (Plan) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.47, S.D.= 0.61) ผลการประเมินรายด้านตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) ในระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 6 ขั้นตอนมีรายละเอียด ดังนี้
1. การประเมินด้านการวางแผนปฏิบัติการ (Plan) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.47, S.D.= 0.61) เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.47, S.D.= 0.61) เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาที่ครอบคลุมคุณภาพสำคัญ 3 ด้าน คือ คุณภาพผู้เรียน คุณภาพบริหารและการจัดการ และคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.= 0.69) รองลงมาคือ สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= 0.64) และสถานศึกษาเสนอร่างมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตรวจสอบ ทบทวน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D.= 0.47) ตามลำดับ และอันดับสุดท้าย สถานศึกษาสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.32, S.D.= 0.70)
2. การประเมินด้านการวางแผนปฏิบัติการ (Plan) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56, S.D.= 0.47) เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า สถานศึกษารวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพภายในและภายนอกของสถานศึกษา วิเคราะห์ และประเมินศักยภาพของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D.= 0.49) รองลงมาคือ สถานศึกษากำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กรอบกลยุทธ์การพัฒนา วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ริเริ่ม โครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.= 0.62) และแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษามุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.= 0.67) ตามลำดับ และอันดับสุดท้าย สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= 0.66)
3. การประเมินด้านการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด (Do) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, S.D.= 0.47) เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า สถานศึกษาจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D.= 0.52) รองลงมาคือ สถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D.= 0.64) และสถานศึกษาดำเนินกิจกรรม/โครงการ สรุปรวบรวมรายงานและประเมินผลกิจกรรม/โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D.= 0.63) ตามลำดับ และอันดับสุดท้าย สถานศึกษานิเทศ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงแก้ไขระหว่างการปฏิบัติงานตามสถานการณ์ให้บรรลุผลตามเป้าหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.38, S.D.= 0.65)
4. การประเมินด้านการตรวจสอบและประเมินผล (Check) การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= 0.45) เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า สถานศึกษากำหนดกรอบการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.= 0.56) รองลงมาคือ สถานศึกษานำผลการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษามาวิเคราะห์ วางแผน แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนางานของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.= 0.60) และสถานศึกษาสร้างเครื่องมือการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.= 0.59) ตามลำดับ และอันดับสุดท้าย สถานศึกษาประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.47, S.D.= 0.62)
5. การประเมินด้านการตรวจสอบและประเมินผล (Check) การติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= 0.46) เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า สถานศึกษาจัดระบบข้อมูลสารสนเทศในการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D.= 0.51) รองลงมาคือ สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D.= 0.53) และสถานศึกษารายงานการติดตามผลเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D.= 0.64) ตามลำดับ และอันดับสุดท้าย สถานศึกษาติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาด้วยวิธีที่หลากหลาย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.46, S.D.= 0.60)
6. การประเมินด้านการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ได้มาตรฐาน (Act) การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.= 50.) เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า สถานศึกษารายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ได้เหมาะสม โดยใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจนอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D.= 0.52) รองลงมาสถานศึกษารายงานและเผยแพร่ผล การประเมินตนเองของสถานศึกษาต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D.= 0.63) และสถานศึกษาเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถานศึกษาและผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่เกิดขึ้นจริงอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.= 0.62) ตามลำดับ และอันดับสุดท้าย สถานศึกษานำผลการประเมินตนเองของสถานศึกษามาสนับสนุนการตัดสินใจในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.46, S.D.= 0.70)
2. แนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี
ผู้ประเมินได้สรุปแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี จากผลการประเมินในแต่ละด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3 อันดับ สรุปเป็นรายด้านตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) ในระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวางแผนปฏิบัติการ (Plan) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาควรกำหนดมาตรฐานการศึกษาที่ครอบคลุมคุณภาพสำคัญ 3 ด้าน คือ คุณภาพผู้เรียน คุณภาพบริหารและการจัดการและคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และควรเสนอร่างมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตรวจสอบ ทบทวน
2. การวางแผนปฏิบัติการ (Plan) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ควรรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพภายในและภายนอกของสถานศึกษา วิเคราะห์ และประเมินศักยภาพของสถานศึกษา ควรกำหนดทิศทาง การจัดการศึกษาของสถานศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กรอบกลยุทธ์การพัฒนา วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ริเริ่ม โครงการ และต้องมีแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษามุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
3. การดำเนินงานตามแผนที่กำหนด (Do) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ควรจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ควรจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และควรดำเนินกิจกรรม/โครงการ สรุปรวบรวมรายงานและประเมินผลกิจกรรม/โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา
4. การตรวจสอบและประเมินผล (Check) การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ควรกำหนดกรอบการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ควรนำผลการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษามาวิเคราะห์ วางแผน แก้ไข ปรับปรุงและพัฒนางานของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และควรสร้างเครื่องมือการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา
5. การตรวจสอบและประเมินผล (Check) การติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ควรจัดระบบข้อมูลสารสนเทศในการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ควรแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและควรรายงานการติดตามผลเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด
6. การปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ได้มาตรฐาน (Act) การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ควรรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ให้เหมาะสม โดยใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย กระชับ ชัดเจน ควรรายงานและเผยแพร่ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน และควรเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถานศึกษาและผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่เกิดขึ้นจริง