ชื่อผลงานทางวิชาการ การประเมินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์
(CIPP Model) โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน นางจริยา ปทุมศรีวิโรจน์
หน่วยงาน โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
ปีที่ทำวิจัย พ.ศ. 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการ (Process evaluation) และด้านผลผลิต (Product evaluation) เกี่ยวกับทักษะชีวิตของผู้เรียน ตามองค์ประกอบ ดังนี้ 1. การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 2. การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3. การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และ 4. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากรณีโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งสิ้น 670 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 54 คน นักเรียน จำนวน 307 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 307 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของนักเรียนและผู้ปกครองโดยคำนวณจากสูตรขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ (Yamane) และสุ่มตัวอย่างนักเรียนแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Samling) และเลือกกลุ่มตัวอย่างของนักผู้ปกครองแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบสอบถาม เรื่อง แบบประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) รวมจำนวนข้อคำถามทั้งสิ้น 57 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency) การหาค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (ar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
ปีการศึกษา 2564 พบว่า
1. ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context evaluation) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
การประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context evaluation) ผู้ประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร และครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ข้อ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนและวิธีการดำเนินการของงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน รองลงมาคือ ข้อ 2 โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 8 สภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ/กิจกรรม เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากและมากที่สุดเท่ากัน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ผู้ประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร และครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อ 2 กิจกรรมตามองค์ประกอบ 5 ขั้นของงานระบบดูแลช่วยเหลือ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ รองลงมา คือ ข้อ 1 โครงการมีแผน
การดำเนินงานที่ชัดเจน และข้อ 4 ผู้บริหารและครูมีความรู้ความสามารถในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 10 มีอาคารสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมอย่างเหมาะสม เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process evaluation) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
การประเมินด้านกระบวนการ (Process evaluation) ผู้ประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร และครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ข้อ 1 มีการวางแผนการดำเนินงานสู่การปฏิบัติตามองค์ประกอบ 5 ขั้นของงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ข้อ 3 มีการกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน และข้อ 2 มีการกำหนดขั้นตอน วิธีการดำเนินงานและการประเมินผลโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 12 มีการเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติงานสู่ชุมชน เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า
ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ในเรื่องทักษะชีวิต
ตามองค์ประกอบ ดังนี้ 1. การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 2. การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3. การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และ 4. การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
การประเมินด้านผลผลิต(Product evaluation) เรื่องทักษะชีวิต ผู้ประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 4
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และ องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของทักษะชีวิตรายข้อ พบว่า
องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อที่ 8 เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น รองลงมาคือ ข้อที่ 5 รักและเห็นคุณค่า
ในตนเองและผู้อื่น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 1 ค้นพบความถนัด ความสามารถและบุคลิกภาพของตนเอง และข้อ 2 ค้นพบจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน เมื่อพิจารณารายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก
องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อที่ 5 มองโลกในแง่ดี รองลงมาคือ ข้อที่ 1 สามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสารอย่างไตร่ตรองและรู้เท่าทันสังคมที่เปลี่ยนแปลง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 3 สามารถแก้ปัญหา
ในสถานการณ์วิกฤตได้อย่างเป็นระบบ เมื่อพิจารณารายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก
องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ข้อที่ 4 รู้จักสร้างความสุขให้กับตนเองและผู้อื่น รองลงมาคือ ข้อที่ 3 รู้จักคลายเคลียดด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 2 สามารถจัดการความขัดแย้งต่าง ๆ ได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม
เมื่อพิจารณารายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก
องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ข้อที่ 6 เคารพกฎกติกาของสังคม รองลงมาคือ ข้อที่ 3 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นตามวิถีประชาธิปไตย ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 2 กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ เมื่อพิจารณารายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก