ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน นางสาวนิรชา อุ่นทรัพย์
ปีที่รายงาน 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการ (Process evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 624 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 2 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
3) คณะกรรมการดำเนินโครงการจำนวน 13 คน 4) ครูจำนวน 191 คน 5) นักเรียนจำนวน 202 คน 6) ผู้ปกครอง จำนวน 202 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ของหัวหน้าห้องและรองหัวหน้าห้อง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 2 คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเพียงพอของปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564
ฉบับที่ 3 คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมกระบวนการดำเนินการโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 4 คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านผลผลิตประเมินความเหมาะสมของอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สิ่งแวดล้อมและเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 ฉบับที่ 5 คือ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 และแบบรวมรวมข้อมูลจำนวน 1 ฉบับ คือ แบบรวบรวมผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( x̄ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1) ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการดำเนินการ และครู พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
2) ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
3) ผลการประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของของผู้บริหาร คณะกรรมการดำเนินงาน และครู พบว่า โดย ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4) ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 ผลการดำเนินการกิจกรรมบรรลุวัตถุประสงค์ทุกกิจกรรม อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ สิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ มีความเหมะสมตามความคิดเห็นของครูและนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
5) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด