บทสรุปสำหรับของผู้บริหาร
การประเมินโครงการเบญจวิถีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนา ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร โดยใช้รูปแบบโมเดลของซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล สตัฟเฟิลบีม มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อประเมินบริบทของโครงการเบญจวิถีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนา ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุราษฎร์ธานี ชุมพร
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานของโครงการเบญจวิถีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนา ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเบญจวิถีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนา ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุราษฎร์ธานี ชุมพร
4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเบญจวิถีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนา ของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุราษฎร์ธานี ชุมพร
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 659 คน ประกอบด้วย ครูโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี จำนวน 64 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 291 คนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเรื่อง การประเมินโครงการเบญจวิถีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนาของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 ใช้สำหรับสอบถามครูและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 16 ข้อ ฉบับที่ 2 ใช้สำหรับสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 ข้อ ฉบับที่ 3 ใช้สำหรับสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 ข้อ ฉบับที่ 4 ใช้สำหรับสอบถามนักเรียน มีจำนวน 9 ข้อ ฉบับที่ 5 ใช้สำหรับสอบถามครู มีจำนวน 14 ข้อ ฉบับที่ 6 ใช้สำหรับสอบถามคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวน 7 ข้อ และฉบับที่ 7 แบบประเมินคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนา จำนวน 1 ฉบับ ใช้สำหรับสอบถามครู จำนวน 50 ข้อ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) แล้วนำผลของการคำนวณมาแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ผลการประเมิน พบว่า การประเมินโครงการเบญจวิถีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนาของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมทุกด้านอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า
1. ด้านบริบทเกี่ยวกับความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการกับความต้องการของบริบท ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความเหมาะสมของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากรและวิธีการดำเนินการตามโครงการที่กำหนดไว้ ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการการดำเนินงานตามโครงการที่ปฏิบัติจริง ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความสอดคล้องของผลการดำเนินโครงการกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะจากการนำผลการประเมินไปใช้ในโอกาสต่อไป
1.1 การดำเนินงานตามโครงการ ควรเพิ่มการประชุมชี้แจง และประสานการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้ชุมชนได้ทราบรายละเอียดของโครงการอย่างสม่ำเสมอ อันจะส่งผลดีต่อการให้ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง
1.2 การดำเนินงานตามโครงการ ควรประยุกต์วงจรคุณภาพการบริหารมาใช้ ร่วมคิด ร่วมทำ โดยฝ่ายบริหารควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่อง ใช้เทคนิคการนิเทศ แบบกัลยาณมิตรในทุกขั้นตอน ทั้งการวางแผน ปฏิบัติตามแผนติดตาม ประเมินผลและนำผลไปใช้ใน การปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
1.3 โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการส่งเสริมคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนา ในโรงเรียนตามความเหมาะสม
1.4 ควรมีการนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการ และเป็นข้อมูลย้อนกลับให้ผู้เกี่ยวข้องในการปรับปรุง พัฒนา ในการดำเนินงานตามโครงการทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง มีการประยุกต์ ปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นให้มีความเหมาะสม ให้โครงการบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการของสถานศึกษาโดยการใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจบริหารจัดการว่าจะยกเลิกหรือดำเนินการต่อ หรือจะพัฒนาให้เกิดสัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.2 ควรมีการประเมินโครงการเบญจวิถีที่ส่งผลต่อคุณลักษณะ สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี วิถีกาญจนาของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี โดยเน้นที่ด้านของการเทิดทูนสถาบันเป็นพิเศษ เพื่อให้สอดรับกับวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งโรงเรียน