รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครูโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม สงสะเดชอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation)
ของโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครูโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) เกี่ยวกับความสอดคล้องของ กลยุทธ์ และความสอดคล้องบริบทของสถานศึกษากับวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ของโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครูโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) เกี่ยวกับความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และระยะเวลาการดำเนินโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนิน (Process Evaluation) ของโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครูโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) เกี่ยวกับความเหมาะสม ความเพียงพอและประสิทธิผลของขั้นตอนและกระบวนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครูโรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) เกี่ยวกับผลที่เกิดกับนักเรียน และครู ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ การประเมินในครั้งนี้เป็นการประเมินจากประชากรซึ่งเป็นกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการการนิเทศภายใน จำนวน 7 คน 2) ครูผู้สอน จำนวน 41 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1- 6 โรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 608 คน รวมประชากรที่ศึกษาทั้งสิ้น 656 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามการประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครู โรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 1 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครู โรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 พบว่า 1) ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จไว้ชัดเจน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านบุคลากร 3) ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติตามแผน 4) ด้านผลผลิต ได้แก่ 4.1) ผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครู การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการการวางแผนและการเตรียมการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ รายการการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 4.2) ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา พบว่าคะแนนเฉลี่ย GPA ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย GPA เท่ากับ 2.87 เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับชั้นพบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ย GPA เท่ากับ 3.18 รองลงมา ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย GPA เท่ากับ 3.12 ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย GPA ต่ำสุด เท่ากับ 2.60 และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 9 ด้านอยู่ในระดับดีและระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 100 และไม่มีนักเรียนอยู่ในระดับพอใช้ผ่านและไม่ผ่าน
สรุปผลผลการประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ของครู โรงเรียนวัดลานนาบุญ (น้อม หงสะเดชอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2564 ทั้ง 4 ด้าน โดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า
ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านบริบท และด้านผลผลิต