บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input : I) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) 2) ประเมินด้านกระบวนการ (Process : P) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) 3)ประเมินด้านผลผลิต (Outputs : O) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) และ 4) ประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 57 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,138 คน และนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,138 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 57 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่นับรวมผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,138 คน ผู้ประเมินจึงใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling) โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 607) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 291 คน ส่วนนักเรียนใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีจำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input : I) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการประเมินด้านกระบวนการ (Process : P) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามการประเมินด้านผลผลิต (Outputs : O) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 และฉบับที่ 4 แบบสอบถามการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 สถิติที่ผู้ประเมินใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินความคิดเห็นด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input : I) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามปรากฏผลดังนี้
ความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 9 โรงเรียนมีความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ข้อที่ 4 บุคลากรของโรงเรียนมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 5 ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจและมีความสามารถในการดำเนินโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) อยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 10 โรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ข้อที่ 9 โรงเรียนมีความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 3 วัตถุประสงค์ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และข้อที่ 5 ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจและมีความสามารถในการดำเนินโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) อยู่ในระดับมาก
2. การประเมินด้านกระบวนการ (Process : P) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 9 ครูผู้สอนร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ข้อที่ 8 ครูผู้สอนร่วมกันจัดกิจกรรมขยะบนหลักเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 3 คณะทำงานร่วมกันในการเตรียมดำเนินงานโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) อยู่ในระดับมาก
3. การประเมินด้านผลผลิต (Outputs : O) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ปรากฏผลดังนี้
ความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 3 นักเรียนกำจัดได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัย และข้อที่ 6 นักเรียนจัดการขยะมูลฝอยที่มีวิธีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ข้อที่ 7 นักเรียนรู้วิธีการลดปริมาณขยะและรู้วิธีการใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดปริมาณขยะ อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 13 นักเรียนนำความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติจริง อยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 7 นักเรียนรู้วิธีการลดปริมาณขยะและรู้วิธีการใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดปริมาณขยะ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ข้อที่ 8 นักเรียนลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์โดยเลือกใช้สินค้าที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่แทนขนาดเล็กการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 13 นักเรียนนำความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติจริง อยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 14 นักเรียนใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติกเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ข้อที่ 6 นักเรียนจัดการขยะมูลฝอยที่มีวิธีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 10 นักเรียนรู้วิธีการนำวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายมาซ่อมใช้ใหม่ก่อนที่จะทิ้งเป็นขยะ อยู่ในระดับมาก
4. การประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) ของโครงการปลอดขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จากความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ปรากฏผลดังนี้
ความคิดเห็นของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 9 นักเรียนมีความสนุกสนานในการทำกิจกรรม อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ข้อที่ 10 นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 3 สื่อ/วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ กิจกรรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นผู้ของปกครองนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 9 นักเรียนมีความสนุกสนานในการทำกิจกรรม อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ข้อที่ 1 รูปแบบกิจกรรมตอบสนองความต้องการของนักเรียน อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้ทำให้เข้าใจง่าย อยู่ในระดับมาก
ความคิดเห็นของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 9 นักเรียนมีความสนุกสนานในการทำกิจกรรม อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ข้อที่ 1 รูปแบบกิจกรรมตอบสนองความต้องการของนักเรียน อยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 2 กิจกรรมการเรียนรู้ทำให้เข้าใจง่าย อยู่ในระดับมาก