บทคัดย่อ
ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Methodology) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบท ปัญหาและความต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านประจัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการสู่พหุปัญญาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านประจัน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการสู่พหุปัญญาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านประจัน และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการสู่พหุปัญญาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านประจัน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการเรียนรู้ปฐมวัย และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นปฐมวัย โรงเรียนบ้านประจัน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกการประชุมและแบบวิเคราะห์รูปแบบการบริหารสถานศึกษา แบบบันทึกการปฏิบัติงาน แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านประจัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า ใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test แบบ independent samples ระยะเวลาในการวิจัยในระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
ผลการวิจัยพบว่า
1. มีปัญหาที่เกิดจากการอ่าน สื่อการเรียนการสอน และมีความต้องการพัฒนาและปรับปรุงการบริหารงานโดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียนและด้านคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการสู่พหุปัญญาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนบ้านประจัน (PRAJAN Model) โดยประกอบด้วย PPlanning,
RRole, A-Apply&Appropriate, JJoining, A-Activity&Inspiration และ N-Networking
3. ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการสู่พหุปัญญา
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านประจัน มีผลทำให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทุกด้านสูงขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. ผลการประเมินและปรับปรุง พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครองของปฐมวัยมีความพึงพอใจในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด
Waemasnah Saedeng. Integrated school management model to multi-intellectual to improve the quality of early childhood education of Ban Prachan School Pattani: Ban Prachan School.
Abstract
Use research and development methodology with objectives 1) to study contextual conditions, problems, and needs to improve the quality of early childhood education of Ban Prachan School and 2) to develop an integrated school management model to multi-intelligence to improve the quality of early childhood education at Ban Prachan School. 3) To study the results of the use of the integrated school management model to multi-intelligence to improve the quality of early childhood education at Ban Prachan School, and 4) to evaluate and improve the integrated school management model to multi-intelligence to improve the quality of early childhood education of Ban Prachan School. The informants include teachers, basic school boards, early childhood learning management experts, and parents of early childhood students. Ban Prachan School Research tools include structured interviews, meeting notes and school management model analysis, performance records, evaluations of the use of school management models, and satisfaction questionnaires in the management of ban prachan schools. The data was analyzed using threesome techniques using statistics including averages, standard deviations, and independent T-tests, during research periods between May 16, 2019, and December 31, 2020.
The results showed that
1. There are problems caused by reading. The company has a focus on improving the quality of learners and the quality of teachers and education personnel.
2. Integrated school management model to multi-intelligence to improve the quality of early childhood education of Ban Prachan School (PRAJAN Model) includes PPlanning,
RRole, A-Apply&Appropriate, JJoining, A-Activity&Inspiration and N-Networking.
3. After the trial of the integrated school management model to multi-intelligence to improve the quality of education of Ban Prachan School. As a result, early childhood development in all areas was statistically significantly higher in all areas at 0.01.
4. Evaluation and improvement results It was found that the improved models had the highest level of quality, and parents of early childhood had the highest level of satisfaction in managing the study.