ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน
วัดสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต
ผู้รายงาน : นางจรวยพร สมหวัง
ปีที่รายงาน : 2565
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ปีการศึกษา 2563 ในด้าน 4 ด้าน ต่อไปนี้ 1) การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) 4) การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ปีการศึกษา 2563 จำนวน 447 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการโรงเรียน เจาะจงเลือกทั้งหมด จำนวน 1 คน 2) ครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ เจาะจงเลือกทั้งหมด จำนวน 41 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ เจาะจงเลือกจำนวน 13 คน 4) นักเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ เจาะจงเลือกเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 196 คน 5) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ เจาะจงเลือกผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 196 คน ตามจำนวนนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโดยภาพรวมทั้งโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation)
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับความพร้อมและทรัพยากรในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินปัจจัยด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับการคัดกรองนักเรียน โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับการส่งเสริมนักเรียน โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับการป้องกันและช่วยเหลือ โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับการส่งต่อ โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินปัจจัยด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation)
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับการบริหารจัดการ โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับการดำเนินการจัดกิจกรรม โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับการติดตามและประเมินผล โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินปัจจัยด้านผลผลิต (Product Evaluation)
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับตระหนักและเห็นความสำคัญ โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับสามารถคัดกรองนักเรียนได้ โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับวิเคราะห์และค้นหาวิธีการ โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินตามตัวชี้วัดระดับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครอง โครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด ผู้บริหารควรดำเนินโครงการต่อไปเป็นโครงการต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ควรนำผลจากการประเมินบางประเด็นและบางตัวชี้วัด มาใช้เป็นสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา ดังต่อไปนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูและผู้รับผิดชอบโครงการช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อกำหนดความแตกต่างของสภาพที่เกิดขึ้นกับสภาพที่ควรจะเป็น โดยระบุสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นและประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นจริง จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นว่าสมควรจะเปลี่ยนแปลง และตระหนักถึงความสำคัญของโครงการที่สถานศึกษาต้องดำเนินการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) การส่งเสริมนักเรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนควรจัดสรรบุคลากรและงบประมาณในการดูแลและส่งเสริมนักเรียนทุกคนที่อยู่ในความดูแลให้มีคุณภาพมากขึ้น มีความภาคภูมิใจในตนเองในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติกลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหา และเป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหาได้กลับมาเป็นนักเรียนกลุ่มปกติและมีคุณภาพตามที่โรงเรียนหรือชุมชนคาดหวังต่อไป โดยการดำเนินโครงการทั้งในปริมาณและคุณภาพที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) การติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนควรประสานงานกับครูในการวางแผน การดำเนินโครงการตามกระบวนการวัดและติดตามผลการปฏิบัติงานของแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้โครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) สามารถคัดกรองนักเรียนได้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนควรตระหนักและมีแนวทางในการคัดกรองนักเรียน เพื่อค้นหาวิธีการช่วยเหลือนักเรียน หรือสามารถส่งต่อและให้คำปรึกษานักเรียนได้ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน