ชื่อเรื่อง รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นางพัชราวรรณ อนังคพันธ์
สถานศึกษา โรงเรียนหนองแต้วรวิทย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต2
ปีที่ศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้และเปรียบเทียบกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ โดยรูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหนองแต้วรวิทย์ การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แนวคิดทฤษฎีกระบวนการคิดแก้ปัญหา การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในกลุ่มตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ การสนทนากลุ่มของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การสอบถามนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองแต้วรวิทย์ การสอบถามครูโครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในกลุ่มตำบลหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ และการสอบถามผู้ปกครอง แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ คือ นักเรียนโรงเรียนหนองแต้วรวิทย์ ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 3 คน สำหรับการทดลองรายบุคคล นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน สำหรับการทดลองกลุ่มเล็ก และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 9 คน สำหรับการทดสอบภาคสนามแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองแต้วรวิทย์ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้ประกอบการใช้รูปแบบการเรียนรู้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับรูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดกระบวนการคิดแก้ปัญหา แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent)
1. ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย(x ̅) เท่ากับ 2.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เท่ากับ 0.88 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย (x ̅) ต่ำสุด เท่ากับ 2.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เท่ากับ 0.83 คะแนนรองลงมา คือด้านการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการสอนมีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 2.99 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เท่ากับ 1.02 และด้านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่าเฉลี่ย (x ̅) ต่ำสุด 3.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) เท่ากับ 0.79 ระดับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการความต้องการในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย(x ̅) เท่ากับ 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.60 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย (x ̅) มากที่สุด 4.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.90 คะแนนรองลงมา คือด้านการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการสอน มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.57 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.32
ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 2.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 1.69 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย (x ̅) ต่ำสุด มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 2.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.90 คะแนนรองลงมาคือ ประเมินด้านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 2.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.19 และประเมินด้านการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการสอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.60 ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประเมินครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย (x ̅) สูงสุด โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.90 คะแนนรองลงมาคือ ด้านการประเมินการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการสอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.45 และการประเมินด้านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.36
2. รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ 3) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้น คือขั้นที่ 1 กำหนดกติกา (Rules) ขั้นที่ 2 สร้างศรัทธาให้ผู้เรียน (Attention) ขั้นที่ 3 พากเพียรรู้ปัญหา (Problem Topic) ขั้นที่ 4 ศึกษาสาเหตุและไตร่ตรอง (Cause Analysis) ขั้นที่ 5 ทดลองและเก็บข้อมูล (Experimental) ขั้นที่ 6 เพิ่มพูนปัญญา (Data Analysis) ขั้นที่ 7 นำวิชาไปใช้จริง (Using) 4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบการรูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.94/82.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
3. ผลการใช้รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นพบว่า หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และผลการทดสอบวัดกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4.1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 1.49
4.2 ครูมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.49
4.3 ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการร่วมมือค้นคว้าหาความรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.58