ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
ผู้วิจัย นางสาวนันทิยา จันทร์สุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าไทร
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ ได้แก่ จำนวน/ปริมาณของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ได้แก่ ทรัพยากร ด้านบุคคล ทรัพยากร ด้านการเงิน ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคาร สถานที่ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพยากรด้านการจัดการ คุณภาพการบริหารงานวิชาการ ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระดับชาติ (O - NET) และประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ต่อผลการดำเนินโครงการ ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีทั้งสิ้น 69 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง จำนวน 28 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ แบบบันทึก จำนวน 5 ฉบับ รวม 11 ฉบับ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS (Package for the Social Sciences) for windows v.11 ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยมีการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า สำหรับกลุ่มครู ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก 2 ตัวชี้วัด โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลสรุปและสำหรับกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก 2 ตัวชี้วัด โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
1.4 ความสอดคล้องกับนโยบาย พบว่า สำสำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยมีการประเมิน จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า สำหรับกลุ่มครู ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก 2 ตัวชี้วัด และสำหรับกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมาก 2 ตัวชี้วัด มีดังนี้
2.1 ความพร้อมของบุคลากร พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
2.3 ความเพียงพอของงบประมาณ พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
2.4 ความเหมาะสมของแหล่งเรียนรู้ พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ โดยมีการประเมิน 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 การวางแผน พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 การดำเนินกิจกรรม พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 การประเมินผล พบว่า สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
3.4 การนำผลมาปรับปรุงพัฒนา พบว่า สำหรับครู ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยมีการประเมิน 6 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 จำนวน/ปริมาณของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ได้แก่
4.1.1 ทรัพยากรด้านบุคคล รวมทั้งสิ้น 11 รายการ ครอบคลุมการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้น ตามความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
4.1.2 ทรัพยากรด้านการเงิน สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน และของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2563 เป็นเงิน 378,280 บาท (สามแสนเจ็ดหมื่นแปดพันสองร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
4.1.3 ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคาร สถานที่ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน และของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 17 รายการ คิดเป็นมูลค่า 684,755 บาท (หกแสนแปดหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยห้สิบห้าบาทถ้วน)
4.1.4 ทรัพยากรด้านการจัดการ โดยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของงานบริหารวิชาการ อย่างต่อเนื่อง
4.2 คุณภาพการบริหารงานวิชาการ ผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระดับชาติ (O - NET) ของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 มีผลการทดสอบเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศทุกวิชา
4.3 ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
กิตติกรรมประกาศ
รายงานโครงการการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 สำเร็จได้ด้วยความกรุณาและความเอาใจใส่เป็นอย่างดีจาก นายกิตติ์ภูมิ คงศรี ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนรัตภูมิวิทยา จังหวัดสงขลา นางสุภาวดี ดวงจันทร์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดโคกสมานคุณ จังหวัดสงขลา นายถาวร สุวรรณพฤกษ์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) จังหวัดสงขลา นายสมปอง ชูวิลัย ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านเขารักเกียรติ จังหวัดสงขลา นางวิลาวรรณ แก่นจันทร์ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโคกเมือง จังหวัดสงขลา ที่ได้ให้กรอบแนวคิด คำปรึกษา และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ทำให้การศึกษาฉบับนี้มีความถูกต้อง และสมบูรณ์มากขึ้น ผู้ศึกษาจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าไทร โรงเรียนเครือข่าย ผู้บริจาคทุกท่าน วิทยากรการสนับสนุนโรงเรียนบ้านท่าไทรทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน โรงเรียนเป็นอย่างดีเสมอมา
คุณค่า และคุณประโยชน์อันพึงเกิดจากการศึกษารายงานโครงการการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนบ้านท่าไทร ปีการศึกษา 2563 ฉบับนี้
ผู้รายงานขอมอบแด่ บิดา มารดา ครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนช่วยเหลือ และให้กำลังใจเป็นอย่างดี จนทำให้ผู้ศึกษาสามารถดำเนินงานศึกษาฉบับนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
นันทิยา จันทร์สุวรรณ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าไทร