ชื่อโครงการ รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวี
ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค
ผู้ประเมิน นางสาวอังคณา สีม่วง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองแค
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค
มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input : I) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค 2) ประเมินด้านกระบวนการ (Process : P) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค 3) ประเมินด้านผลผลิต (Outputs : O) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค และ 4) ประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็น ครูผู้สอน จำนวน 29 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 44 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 441 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 441 คน จำนวน 924 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 29 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่นับรวมผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู) รวมทั้งสิ้น 42 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 198 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 210 คน จำนวน 463 คน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้ประเมินนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาค่าความถี่ (f) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( , ) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.,)
สรุปผล
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแคสรุปผล ดังนี้
ผลการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐาน (Input : I) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค จากครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ระดับความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ความพร้อมของการบริหารจัดการ ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ความพอเพียงของวัสดุ อุปกรณ์ ความพร้อมของบุคลากร (Man) และความพอเพียงของงบประมาณ (Money) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ รายละเอียดดังนี้ ความพร้อมของบุคลากร (Man) ระดับความพร้อมอยู่ในระดับมาก
ความพอเพียงของงบประมาณ ( Money )ระดับความพร้อมอยู่ในระดับมาก ความพอเพียงของวัสดุ อุปกรณ์ ระดับความพร้อมอยู่ในระดับมาก และความพร้อมของการบริหารจัดการ ระดับความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process : P) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค จากครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ การดำเนินงานตามแผนงาน รองลงมา คือ การนิเทศ กำกับ และติดตาม วางแผนดำเนินงาน และการปรับปรุงและการพัฒนา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ รายละเอียด ดังนี้ วางแผนดำเนินงาน ระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก การดำเนินงานตามแผนงาน ระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด การนิเทศ กำกับ และติดตาม ระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด และการปรับปรุงและการพัฒนา ระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินด้านผลผลิต (Outputs : O) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค จากนักเรียน พบว่า ระดับความเป็นจริงในการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย อยู่ในระดับมากที่สุด สร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้อบอุ่น อยู่ในระดับมากที่สุด มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคมอยู่ในระดับมากที่สุด ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด อยู่ในระดับมากที่สุด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปีอยู่ในระดับมากที่สุด รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี อยู่ในระดับมากที่สุด ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ อยู่ในระดับมาก งดบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ อยู่ในระดับมาก ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท อยู่ในระดับมาก และกินอาหารสุกสะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดสีฉูดฉาด อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ การจัดกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสม รองลงมา คือ สถานที่จัดกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสม และนักเรียนมีความสนุก สนานกับการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcomes : O) ของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกายสบายชีวีของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองแค เกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ท่านได้มีส่วนร่วมในการจัด กิจกรรมของโครงการ ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ท่านได้รับความรู้และประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อไปปรับใช้ได้และ โรงเรียนมีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกพอเพียงและอยู่ในสภาพใช้การได้ดี