รายงานผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ 4 ด้าน ตามรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 จำนวน 12 คน พี่เลี้ยงเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 จำนวน 12 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 72 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครอง จำนวน 118 คน นักเรียน จำนวน 118 คน รวมทั้งหมด จำนวน 349 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 8 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ที่กำหนด พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน พิจารณารายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผลผลิต รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ อันดับ 3 คือ ด้านปัจจัยนำเข้า และ ด้านบริบทของโครงการ ตามลำดับ ดังนี้
1.1 ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถนำไปปฏิบัติได้ รองลงมา โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีวัตถุประสงค์ชัดเจน และโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เกิดจากความต้องการของบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน และอันดับ 3 คือ โครงการ สอดคล้องกับนโยบายของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการในปัจจุบัน อยู่ในระดับเท่ากัน 1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกรายการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย3 อันดับแรกได้แก่ การจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความเหมาะสม รองลงมา คือ มีแผนการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อันดับ 3 คือ มีสถานที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เหมาะสมกับระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการ
1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกรายการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัด ที่กำหนด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย3 อันดับแรกได้แก่ มีการแจ้งแผนการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รองลงมา คือ มีการดำเนินกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามแผนที่กำหนด และอันดับ 3 คือ มีการประชุมชี้แจงให้ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ให้ทราบเกี่ยวกับโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการให้คำแนะนำ และช่วยเหลือระหว่างการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด ดังนี้
1.4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ การส่งต่อ รองลงมา คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหา อันดับ 3 คือ การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน อันดับ 4 คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล อันดับ 5 คือ การคัดกรองนักเรียน ตามลำดับ
1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกรายการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ มีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลาย รองลงมา คือ มีการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล และอันดับ 3 คือ มีการศึกษาข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
2) ด้านการคัดกรองนักเรียน โดยภาพรวมระดับ ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกรายการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อยได้แก่ มีการคัดกรองนักเรียนโดยใช้วิธีที่หลากหลาย รองลงมา คือ การสรุปผลการคัดกรองนักเรียนครบทุกคนและแยกเป็นระดับชั้น และอันดับ 3 คือ มีการนำผลที่ได้จากการคัดกรองนักเรียนมาจัดสารสนเทศระดับสถานศึกษา และนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกรายการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อยได้แก่ มีการส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกอย่างเต็มความสามารถ รองลงมา คือ มีการรายงานผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และอันดับ 3 คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการ วางแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกรายการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อยได้แก่ มีการจัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน ประสานกับบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการรายงานและประเมินผลการจัดกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา รองลงมา คือ มีการใช้จิตวิทยาในการให้คำปรึกษา เมื่อนักเรียนมีปัญหาแล้วไม่กล้าที่จะปรึกษาครู และอันดับ 3 คือ มีการติดตามผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
5) ด้านการส่งต่อ โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกรายการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อยได้แก่ มีเครือข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และมีการติดตาม ประเมินผล สรุปผล และรายงานผลการส่งต่อ อยู่ในระดับเท่ากัน รองลงมา คือ มีการชี้แจงให้นักเรียน ผู้ปกครองทราบในการส่งต่อเพื่อช่วยเหลือนักเรียน และอันดับ 3 คือ มีการประสานงานบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภายนอกพร้อมช่วยเหลือ และมีการปรับปรุง แก้ไขการดำเนินการส่งต่อที่เป็นระบบ
1.4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ การส่งต่อ รองลงมา คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหา อันดับ 3 คือ การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน อันดับ 4 คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล อันดับ 5 คือ การคัดกรองนักเรียน ตามลำดับ
1.4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับคุณลักษณะนักเรียนหลังการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนอนุบาลพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ทุกรายการมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนด เมื่อพิจารณารายข้อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย3 อันดับแรก ได้แก่ รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีพัฒนาการด้นน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็กไทย รองลงมา คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตรทุกรายกลุ่ม สาระการเรียนรู้ และอันดับ 3 คือ นักเรียนรู้ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ จุดเด่น จุดด้อย ของตนเอง และพร้อมที่จะปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ