ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสชาสิริ ศรึคงอยู่
ปีทีวิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มี ประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนหลังการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 จำนวน 22 คน โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน แบบทดสอบปรนัย 3 ตัวเลือก และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวัดข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าประสิทธิภาพ ชุดฝึก E1 /E2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภพ 84.32/82.34 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนหลังการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 เฉลี่ยได้ 79
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน วัสดุและการใช้วัสดุ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) พัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
(5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) เปรียบเทียบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนหลังการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75
3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
สมมติฐานของการวิจัย
1. ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
(5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เมื่อใช้
ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model)
เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่องวัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
อยู่ในระดับ มาก
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling)
ตัวแปราที่ใช้ในการวิจัย
1. ตัวแปรต้น ( Independent variables) ได้แก่
1.1 การเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ตัวแปรตาม (dependent variables) ได้แก่
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
2.2 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.3 ความพึงพอใจของนักเรียน
ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กรอบแนวคิดการวิจัย
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ชุดฝึกเสริมทักษะ หมายถึง ชุดการฝึกที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นชุดฝึกที่มีการนำเอาวิธีการที่หลากหลาย เช่น เกม เพลงคำคล้องจอง และการทดลอง มาใช้ร่วมกับสื่อของจริง บัตรภาพ บัตรคำ อุปกรณ์และ การจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) ซึ่งประกอบด้วยขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจ และค้นหา (Exploration) ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) และ ขั้นที่ 5 ขั้นประเมิน (Evaluation) (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546) ขั้นที่ 6 ขั้นสร้างชิ้นงานขึ้นใหม่ (Product design) และขั้นที่ 7 กระบวนการสะท้อน (Process of reflect) โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ และการค้นคว้าหาคำตอบ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ได้สังเกต สัมผัส และทดลองด้วยตนเอง เพื่อให้เห็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยมีครูเป็นผู้ให้ คำปรึกษา แนะนำแนวทาง อภิปรายความรู้ร่วมกัน จนสามารถค้นพบความรู้ใหม่ ในชุดฝึกเสริมทักษะมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ คำแนะนำการใช้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรม มาตรฐาน ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน ใบความรู้ ใบกิจกรรม แบบทดสอบหลังเรียน แนวเฉลยใบกิจกรรม เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์ ในการเรียนรู้ หรือการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์จากมาตรฐาน ตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 1551 และฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษา 2 ซึ่งประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล และทักษะการทดลอง
3. ประสิทธิภาพของชุดฝึกเสริมทักษะ หมายถึง คุณภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ของชุดฝึกเสริมทักษะเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพไว้ คือ 80/80 ดังนี้
80 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทำใบกิจกรรมระหว่างเรียนในแต่ละกิจกรรม ที่นักเรียนใช้เรียนรู้ด้วยชุดฝึกเสริมทักษะเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
80 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน ของนักเรียน ที่เรียนรู้ด้วยชุดฝึกเสริมทักษะเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนความรู้ ความสามารถของผู้เรียนทางด้านความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้หลังจากการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยวัดได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดตัวเลือกตอบแบบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
5. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกพอใจ ความชอบใจ ความถูกใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E2P Model) เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 วัดได้จากการใช้แบบสอบถามระดับความพึงพอใจเป็นแบบมาตารส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
1. ผลการวิจัยใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง วัสดุและการใช้วัสดุ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2. ผลการวิจัยใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในหน่วยการเรียนรู้อื่น หรือ ในระดับการศึกษาอื่นได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามโครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำหนด