การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 และ 2) ศึกษาผลการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติ (Action) 3) การสังเกต (Observation) และ 4) การสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมศึกษา และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้มาทั้งการสุ่มแบบง่าย และการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบ แบบวัดความรู้ครู แบบประเมินความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามผู้เกี่ยวข้องและแบบสัมภาษณ์นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
จากการศึกษาเอกสาร วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มี 2 องค์ประกอบ คือ 1) การนิเทศแบบบูรณาการ (แบบ DOR ; ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้-Design a learning management plan ; สังเกตการสอน -Observe teaching ; สะท้อนผล-R-reflect) และแบบ SEDOR : วิเคราะห์ตนเอง-Self analysis ; ศึกษาหาความรู้-Educate knowledge ; ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้-Design a learning management plan ; สังเกตการสอน -Observe teaching ; สะท้อนผล-R-reflect) 2) การพัฒนาครู ผ่าน 3 กิจกรรม ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการผ่าน PLC การอบรมเชิงปฏิบัติการและการเป็นโค้ช (Coaching) หรือการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) และ 3) การนำสู่ปฏิบัติ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผล หลังจากนั้นสนทนากลุ่มผู้วิจัยและเครือข่ายผู้วิจัย จำนวน 4 คน เพื่อกำหนดแนวทางการนำสู่การปฏิบัติผ่าน 4 ขั้นตอน (การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผล) และสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (เอกสารประกอบ แบบวัดความรู้ครู แบบประเมินความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามผู้เกี่ยวข้องและแบบสัมภาษณ์นักเรียน) มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
2. ผลการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก วงรอบที่ 1-2 พบว่า
วงรอบที่ 1 ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 17 ชั่วโมง และวงรอบที่ 2 ครูจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 30 ชั่วโมง
2) ผลการศึกษาผลการจัดกิจกรรมพัฒนาครู
2.1) ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จากข้อมูลการสัมภาษณ์และบันทึกการสังเกตทำให้ผู้ร่วมการศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานต่างๆ สามารถกำหนดกระบวนการดำเนินงานตามแผนงาน มีหลักการแนวทางและวิธีการที่ชัดเจนและนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้มาประชุมปรึกษาหารือวิเคราะห์วิจารณ์ร่วมกันสรุปรายงานต่อที่ประชุมเพื่อวางแผนพัฒนาต่อไป ผลการวิจัยเป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้ร่วมวิจัยได้รับการพัฒนาจนเกิดความรู้ความเข้าใจ มีกระบวนการในการปฏิบัตินำไปสู่ความมั่นใจในการพัฒนาครู
2.2) ผลการเปรียบเทียบความรู้ของครูผู้สอนก่อนและหลังการพัฒนาตามกระบวนการ
ที่พัฒนาขึ้น พบว่า ครูผู้สอนทั้ง 6 คน เข้าร่วมการอบรมปฏิบัติการครบทั้ง 2 วัน สามารถทำใบงานหน่วยที่ 1-9 ได้ถูกต้องและคะแนนวัดความรู้ของครูหลังการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 16.00 คิดเป็นร้อยละ 80.00 และเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนวัดความรู้ของครูก่อนการพัฒนาและหลังพัฒนา พบว่า มีค่าเท่ากับ 38.89/80.00 แสดงว่า หลังการพัฒนาครูมีความรู้เพิ่มขึ้น
2.3) ผลการเปรียบเทียบการนิเทศ ติดตามผลครูในการนำความรู้สู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียน
วงรอบที่ 1-2 พบว่า วงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.38 ครูทำไม่ได้หรือต้องการพัฒนามากและวงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.60 ครูทำได้ดีมากและเมื่อเปรียบเทียบกับผลการนิเทศ ติดตามผลครูในการนำความรู้สู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียนวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 พบว่า มีค่าเท่ากับ 1.38/2.60 แสดงว่า วงรอบที่ 2 ครูนำความรู้สู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียนเพิ่มขึ้น
3) ผลการศึกษาการนำสู่การปฏิบัติ
3.1) ผลการประเมินความสามารถของครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 1/2 เท่ากับ
38.70/80.68 แสดงว่า หลังรับการนิเทศแบบบูรณาการครูมีความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพิ่มขึ้น