1. รุปแบบการนิเทศแบบผสมผสาน PHUTHAI Model เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการนิเทศ และ 5) การวัดผลและประเมินผล โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 หลักการ
1.1.1 การนิเทศการศึกษาเป็นการช่วยเหลือครูให้ประสบผลสำเร็จ ในการปฏิบัติ
กิจกรรมการสอน การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนาทักษะวิชาชีพ ให้สูงขึ้น
1.1.2 นิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
1.2.3 เป็นการนิเทศการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) (
1.2.4 นิเทศการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
1.2.5 มีการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงทั้งด้านความรู้ และด้านทักษะและนำผลไปใช้ในการพัฒนาทักษะวิชาชีพให้สูงขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
1.2.2 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
1.2.3 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
1.3 เนื้อหา การวิจัยในชั้นเรียน แบ่งเป็น 2 ด้าน ดังนี้
1.3.1 ด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หน่วย ดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หน่วย ดังนี้ หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) หน่วยที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) หน่วยที่ 3 สู่ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) หน่วยที่ 4 แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
1.3.2 ด้านความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ประกอบด้วย 1) ความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) 2) ความสามารถด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) 3) ความสามารถด้านการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
1.4 กระบวนการนิเทศ มี 5 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวางแผนการนิเทศ
ขั้นที่ 2 การเตรียมการนิเทศ
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ
ขั้นที่ 4 การวัดผลประเมินผลการนิเทศ
ขั้นที่ 5 รายงานผลการนิเทศ
1.5 การวัดและประเมินผลรูปแบบการนิเทศ สรุปได้ดังนี้
1.5.1 การวัดและประเมินผลก่อนใช้รูปแบบการนิเทศ โดยทดสอบ ความรู้เกี่ยวกับ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) โดยใช้แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) แล้วนำผลการวิเคราะห์ค่าร้อยละเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70
1.5.2 การวัดและประเมินผลระหว่างนิเทศ ดำเนินการดังนี้
1) ประเมินความสามารถด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) แล้วนำผลการวิเคราะห์ค่าร้อยละเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70
2) ประเมินความสามารถด้านการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) โดยใช้แบบประเมินความสามารถด้านการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) แล้วนำผลการวิเคราะห์ค่าร้อยละเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70
3) ประเมินความสามารถด้านการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) โดยใช้แบบประเมินความสามารถด้านการวัดผล
ประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) แล้วนำผลการวิเคราะห์ค่าร้อยละเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป
1.5.3 การวัดและประเมินผลหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ ดังนี้
1) ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ใช้ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70
2. การพัฒนารูปแบบการนิเทศ PHUTHAI+ (plus)เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) พบว่า
2.1 ครูรับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศ PHUTHAI+ (plus) มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ที่เน้นกระบวนการ PLC ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 16.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 4.17 คิดเป็นร้อยละ 72.92 หลังนิเทศสูงกว่าก่อนนิเทศและเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กาหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ครูที่ได้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศ PHUTHAI+ (plus)มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 12.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.34 คิดเป็นร้อยละ 81.43 และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินพบว่ามีความสามารถ ในระดับดีมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กาหนดไว้
2.3 ครูที่ได้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศ PHUTHAI+ (plus) มีความรู้เกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 55.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.89 คิดเป็นร้อยละ 90.05 และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินพบว่ามีความสามารถ ในระดับดีมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้
2.4 ครูที่ได้รับการนิเทศโดยใช้รูปแบบการนิเทศ PHUTHAI+ (plus) มีความรู้เกี่ยวกับผลงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) คะแนนค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 93.87 คิดเป็นร้อยละ 92.87 และเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินพบว่ามีความสามารถในระดับดีเยี่ยม สูงกว่าเกณฑ์ระดับดี (คะแนน60 80) ที่กำหนดไว้