บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 70 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 144 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 144 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 ด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 แบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมินโครงการฯ พบว่า
1. ภาพรวม
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็น ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ภาพรวมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.78, S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ส่วนด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (x ̅ = 4.81, S.D. = 0.38) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ (x ̅ = 4.80, S.D. = 0.38) ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (x ̅ = 4.78,S.D. = 0.39) และด้านผลผลิต (x ̅ = 4.76, S.D. = 0.43) ตามลำดับ
1.1 ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context)
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งถามความคิดเห็นด้านบริบทของโครงการ ประกอบด้วย ความต้องการความจำเป็นของโครงการความเหมาะสมของ วัตถุประสงค์ของโครงการ และความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ โดยภาพรวมมี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.78, S.D. = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า ด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับ 1 คือ ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.85, S.D. = 0.35) ด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.83, S.D. = 0.39) และ ด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้าย คือ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.67, S.D. = 0.45)
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งถามด้านความเหมาะสมและ ความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และการบริหารจัดการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.81, S.D. = 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า ด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับ 1 คือ ด้านวัสดุอุปกรณ์ และสถานที่ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x ̅ = 4.88, S.D. = 0.34) ด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ ด้านบุคลากร ความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.87, S.D. = 0.37) ด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยอันดับที่ 3 คือ ด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.86, S.D. = 0.37) และด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยอันดับสุดท้าย คือ ด้านบริหารจัดการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.66, S.D. = 0.47)
1.3 ด้านกระบวนการ (Process)
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งถามด้านความเหมาะสมของ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.80, S.D. = 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า ด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับ 1 คือ ด้านการวางแผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.86, S.D. = 0.33) ด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยอันดับที่ 2 คือ ด้านการดำเนินงาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.82, S.D. = 0.37) ด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับ 3 คือ การนำผลไปปรับปรุงพัฒนา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.81, S.D. = 0.39) และด้านย่อยที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับ 4 คือ ด้านการติดตามและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.73, S.D. = 0.43)
1.4 ด้านผลผลิต (Product)
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ด้านผลผลิต (Product) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งถาม ความเหมาะสมความสอดคล้องของผลการดำเนินงานกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ (x ̅ = 4.76,S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านข้อ พบว่า ครูมีแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียน สามารถป้องกัน วิเคราะห์ แก้ปัญหา สามารถส่งต่อและให้คำปรึกษานักเรียนได้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅ = 4.86, S.D. = 0.34) รองลงมา คือ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและมีความสุขในการเรียนรู้ (x ̅ = 4.85, S.D. = 0.36) และนักเรียนรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกของครอบครัวมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x ̅ = 4.67, S.D. = 0.47)
2. ด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.74, S.D. = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านข้อ พบว่า นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดคุณลักษณะพึงประสงค์ตรงตามเป้าหมายของระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x ̅ = 4.81, S.D. = 0.39) รองลงมา คือ นักเรียนได้รับ การส่งเสริมพัฒนาให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข (x ̅ = 4.79, S.D. = 0.40) และนักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และตรงตามปัญหามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x ̅ = 4.70, S.D. = 0.48)