บทสรุปสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเสนา เสนาประสิทธิ์ โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบนิเทศ SP Isolation Online มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินโครงการ ใน 4 ด้าน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย การประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า การประเมินด้านกระบวนการ และการประเมินด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2564 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครู จำนวน 69 คน คณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 234 คน และผู้ปกครองนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 234 คน รวมทั้งหมด จำนวน 563 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติ (O - NET) และแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น 10 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นฉบับที่ 1 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ฉบับที่ 2 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ฉบับที่ 3 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ฉบับที่ 4 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ฉบับที่ 5 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 ฉบับที่ 6 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ฉบับที่ 8 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 9 ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.90 และฉบับที่ 10 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ การคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1.ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเสนา เสนาประสิทธิ์ โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบนิเทศ SP Isolation Online ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการการนิเทศภายใน โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.01 , S.D. = 0.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ( x̄ = 4.07 , S.D. = 0.71) รองลงมา คือ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน (x̄ = 4.06 , S.D. = 0.74) ความเป็นไปได้ของโครงการ (x̄ = 3.93 , S.D. = 0.79) ส่วนด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ความต้องการจำเป็น (x̄ = 3.92 , S.D. = 0.80) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเสนา เสนาประสิทธิ์ โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบนิเทศ SP Isolation Online ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการนิเทศภายใน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.90 , S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คือ หน่วยงาน ที่สนับสนุนโครงการ (x̄ = 4.96 , S.D. = 0.20) รองลงมา คือ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ (x̄ = 4.95 , S.D. = 0.20) ความพร้อมของบุคลากร ( x̄ = 4.92 , S.D. = 0.27) ความเพียงพอของงบประมาณ (x̄ = 4.86 , S.D. = 0.25) ส่วนด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ความเพียงพอของวัสดุ อุปกรณ์ ( = 4.83 , S.D. = 0.31) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเสนา เสนาประสิทธิ์ โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบนิเทศ SP Isolation Onlineตามการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.83 , S.D. = 0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ คือ การดำเนินการนิเทศ (x̄ = 4.88 , S.D. = 0.31) รองลงมา คือ การติดตามและการประเมินผล (x̄ = 4.86 , S.D. = 0.32)การสะท้อนผลงานจากการนิเทศภายใน (x̄ = 4.85 , S.D. = 0.34) การสร้างขวัญและกำลังใจ (x̄ = 4.82 , S.D. = 0.38) และการวางแผน (x̄ = 4.80 , S.D. = 0.42) ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุด คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจ (x̄ = 4.75 , S.D. = 0.47) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียนเสนา เสนาประสิทธิ์ โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบนิเทศ SP Isolatio ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน ในภาพรวม ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด( x̄ = 4.83, S.D. = 0.35) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามประเด็นตัวชี้วัดที่กำหนดไว้เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู (x̄ = 4.87, S.D. = 0.28) รองลงมา คือ พฤติกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียน (x̄ = 4.87, S.D. = 0.32) ความพึงพอใจของนักเรียน (x̄ = 4.86, S.D. = 0.32) ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ( = 4.84, S.D. = 0.37) ระดับคุณภาพการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู (x̄ = 4.83, S.D. = 0.33) ส่วนด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ความพึงพอใจของครู ( x̄= 4.68, S.D. = 0.50) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีรายละเอียด ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบนิเทศ SP Isolation Online ตามความคิดเห็น ของคณะกรรมการการนิเทศภายใน โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.83 ,S.D. = 0.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผนการนิเทศภายใน (x̄ = 4.86 , S.D. = 0.30) รองลงมา คือ การประเมินการนิเทศภายใน (x̄ = 4.85 , S.D. = 0.28) และการลงมือปฏิบัติการนิเทศ (x̄ = 4.82 , S.D. = 0.35) ส่วนด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ การให้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ( x̄ = 4.78, S.D. = 0.39) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยสอบถามจากนักเรียนและคณะกรรมการการนิเทศภายใน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.87, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( = 4.90, S.D. = 0.23) รองลงมา คือด้านการวัดและประเมินผล (x̄ = 4.88, S.D. = 0.25) และด้านการวางแผนและการเตรียมการจัดการเรียนรู้ ( x̄ = 4.86, S.D. = 0.31) ส่วนด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำสุด คือ ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ (x̄ = 4.85, S.D. = 0.33) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.87, S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความคิดเห็น ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนใช้เวลาว่างพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และนักเรียนมีการใช้ทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกับเพื่อนในสังคมได้อย่างมีความสุข ( = 4.98 , S.D. = 0.15) รองลงมา คือ นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อครู และวิชาที่เรียน ( x̄ = 4.96 , S.D. = 0.15) และนักเรียน รักโรงเรียนและชอบมาโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ (x̄ = 4.95, S.D. = 0.13) ส่วนรายการที่มีระดับความคิดเห็นระดับต่ำสุด คือ นักเรียนมีการซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู หรือผู้รู้อยู่เสมอ ( x̄ = 4.66 , S.D. = 0.50) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผลปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 35.27 และ ปีการศึกษา 2564 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 33.57 โดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง 1.69 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีการพัฒนาสูงสุด เท่ากับ + 1.57 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าพัฒนาน้อยที่สุด ลดลง 4.66
ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O NET) ขอนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 29.44 และปีการศึกษา 2564 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 31.86 โดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น + 2.42 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและมีการพัฒนาสูงสุด เท่ากับ + 8.54 รองลงมา คือ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีค่าพัฒนาเท่ากับ + 4.31 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าพัฒนาน้อยที่สุด ลดลง - 1.71
4.5 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.86 , S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจ ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ครูจัดการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน (x̄ = 4.99 , S.D. = 0.11) รองลงมา คือ ครูส่งเสริมให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (x̄ = 4.98 , S.D. = 0.13) และครูเปิดโอกาสให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( x̄ = 4.96 , S.D. = 0.20) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ ครูส่งเสริมให้นักเรียนนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาการเรียนของนักเรียน (x̄ =4.65 , S.D. = 0.48) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนและที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.84 , S.D. = 0.37) เมื่อพิจารณา เป็นรายการ พบว่า ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ครูใช้ข้อมูลนักเรียนในการวางแผนจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน (x̄ = 4.98 , S.D. = 0.14) รองลงมา คือ ครูจัดการเรียนรู้อย่างเต็มใจ เต็มที่ เต็มเวลา และเต็มความสามารถตามที่ได้รับมอบหมาย (x̄ = 4.95 , S.D. = 0.20) และครูส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ( x̄ = 4.90 , S.D. = 0.31) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ ครูจัดการเรียนรู้ที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและสติปัญญา (x̄ = 4.69 , S.D. = 0.51) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.7 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเสนา เสนาประสิทธิ์ โดยใช้กระบวนการนิเทศรูปแบบนิเทศ SP Isolation Online ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.89 , S.D. = 0.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับ ความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การทำความเข้าใจวิธีการนิเทศร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ (x̄ = 4.97 , S.D. = 0.17) รองลงมา คือ โรงเรียนมีแผนและปฏิทิน การดำเนินกิจกรรมโครงการที่ชัดเจน และกิจกรรมบ้านหลังเรียนสามารถส่งเสริมให้เด็กเป็นคนดี คนเก่ง สร้างความรักและความอบอุ่นในครอบครัว (x̄ = 4.93 , S.D. = 0.21) และการนำวิทยากรจากภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมจัดการเรียนรู้ (x̄ = 4.87 , S.D. = 0.37) ส่วนรายการที่มีระดับความพึงพอใจต่ำสุด คือ การนำผลการนิเทศภายในมาปรับปรุงวิธีการสอนของครูและบุคลากร ( x̄ = 4.64 , S.D. = 0.51) เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน