การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร ปีการศึกษา 2564
ผู้ประเมิน ได้มุ่งศึกษาผลการดำเนินงานตามโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร
ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย โดยนำรูปแบบการประเมินเชิงระบบ CIPPI (Context-Input-Process-Product-Impact) ที่ประยุกต์แนวคิดรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาของวิโรจน์ สารรัตนะ (2554 : 56) มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเครื่องมือเพื่อให้เห็นภาพกระบวนการดำเนินการและเห็นภาพรวมของการดำเนินการพัฒนาตลอดโครงการ โดยทำการประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) และประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ดังนี้
1.1 การประเมินบริบท (Context Evaluation) เกี่ยวกับ ความสอดคล้องและความเหมาะสมของหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และภารกิจของโรงเรียน สะท้อนถึงความต้องการและความจำเป็นของโครงการ
1.2 ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับ ความเหมาะสมของทรัพยากร ทางการบริหาร 4Ms ได้แก่ ความเพียงพอและเหมาะสมของปัจจัยในด้านต่าง ๆ ดังนี้ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการ
1.3 ประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) เกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการ ด้วยกระบวนการดำเนินงานระบบวงจรคุณภาพ PDCA ตามมาตรการของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร ได้แก่
1.3.1 การวางแผนการดำเนินโครงการ (Plan)
1.3.2 การดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานและขั้นตอนกระบวนการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร (Do)
1) การให้โอกาสได้เริ่มต้น
2) การรู้จักตัวตนพร้อมคัดกรอง
3) การประคอง ดูแล ช่วยเหลือ
4) การเอื้อเฟื้อ คุ้มครอง ให้ปลอดภัย
5) การจบการศึกษาออกไปอย่างภาคภูมิ
1.3.3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Check) การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รายงานผล และพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.3.4 การประเมินผลการดำเนินโครงการ (Action) การสรุปรายงานผลและข้อเสนอแนะ นำมาพัฒนาปรับปรุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.4 ประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
1.4.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน
1) มีคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนศรีนคร
มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีน้ำใจ มีความพอเพียง
2) มีทักษะวิชาการ
3) มีทักษะอาชีพ
4) มีทักษะชีวิต
1.5 ประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation)
1.5.1 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร
1.5.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ มีจำนวน 6 ฉบับ แบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีระยะเวลาการประเมิน
เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 และสิ้นสุดใน วันที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2565
โดยใช้ประชากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการเป็นแหล่งข้อมูลทั้งหมด
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมิน ด้านบริบท ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร
ปีการศึกษา 2564 โดยผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนศรีนครปีการศึกษา 2564 โดยผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ มากที่สุด
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการดำเนินงาน ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร ปีการศึกษา 2564 โดย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน ผู้ประเมินได้ประเมินการกระบวนการดำเนินงาน 4 ด้าน คือ คือ การวางแผนการดำเนินโครงการ (Plan) การปฏิบัติตามแผน (Do) การตรวจสอบ ประเมินผล (Check) และการพัฒนาปรับปรุง (Act) โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมิน ด้านผลผลิต ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร ปีการศึกษา 2564 โดย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และกลุ่มตัวอย่าง ผู้ประเมินได้ทำการประเมินเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน คือ มีคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนศรีนคร มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีน้ำใจ มีความพอเพียง มีทักษะวิชาการ มีทักษะอาชีพ และมีทักษะชีวิต ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ มากที่สุด
5. ผลการประเมิน ด้านผลกระทบ ของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนศรีนคร ปีการศึกษา 2564 โดย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
5.1 ผู้ประเมินได้ทำการประเมิน ในด้าน ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ มากที่สุด
5.2 ผู้ประเมินได้ทำการประเมิน ในด้าน ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ มากที่สุด
สรุป จากผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนศรีนคร ปีการศึกษา 2564 โดยนำรูปแบบการประเมินเชิงระบบ CIPPI (Context-Input-Process-Product-Impact) ประยุกต์แนวคิดรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาของวิโรจน์ สารรัตนะ (2554 : 56) มาประยุกต์ใช้ในการสร้างเครื่องมือเพื่อให้เห็นภาพกระบวนการดำเนินการและเห็นภาพรวมของการดำเนินการพัฒนาตลอดโครงการ โดยทำการประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) และประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนั้น การดำเนินโครงการนี้จึงบรรลุตามจุดมุ่งหมายของโครงการตามที่ตั้งไว้