รายงานผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัย โรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 744 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 47 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 360 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามการดำเนินงานโครงการ ซึ่งศึกษาตามกระบวนการ PDCA คือ การวางแผน (Plan) การดำเนินตามแผน (Do) การตรวจสอบ (Check) และการแก้ไขปัญหา (Act) และแบบสอบถาม ผลการดำเนินงานโครงการ ซึ่งศึกษาผลลัพธ์/ความสำเร็จ จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านนักเรียนและผู้ปกครอง และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับและการบรรยายความเรียง สรุปผลได้ ดังนี้
1. การดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด (x = 4.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1.1 ด้านการวางแผน (Plan) ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.55) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 1 สถานศึกษามีนโยบายความปลอดภัย ในสถานศึกษา (x = 4.65) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่9 สถานศึกษามีแผนจัดการเรียนรู้ ที่บูรณาการเรื่องความปลอดภัยในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ( = 4.45)
1.2 ด้านการดำเนินตามแผน (Do) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 3 สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตร และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาและการดำเนินชีวิต (x = 4.83) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 12 สถานศึกษาจัดกิจกรรมแนะแนวให้นักเรียนได้รู้จัก การวางแผน การดำเนินชีวิตของตนเองให้มีความปลอดภัยอย่างรอบด้าน (x = 4.34)
1.3 ด้านการตรวจสอบ (Check) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x =4.41) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 3 สถานศึกษามีการติดตาม ผลการดำเนินงานตามแผนงบประมาณตามโครงการสถานศึกษาปลอดภัย (x = 4.60) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 11 สถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ของนักเรียนด้านความปลอดภัย ( x = 4.13)
1.4 ด้านการแก้ไขปัญหา (Act) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x =4.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 3 สถานศึกษามีการนำ ผลการติดตาม มาพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการงบประมาณตามโครงการสถานศึกษาปลอดภัย (x = 4.65) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 5 สถานศึกษามีการศึกษา/วิเคราะห์/ประเมินผลเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนด้านความปลอดภัย ( = 4.35)
สรุปได้ว่ารายงานผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ มีการดำเนินงานในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน 51 รายการ
2. ผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ผลลัพธ์/ ภาพความสำเร็จในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน โดยครู บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก (x = 4.49) หากพิจารณาเป็นรายด้านมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ด้านการบริหารจัดการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 1 ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีการประสานงานและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานศึกษา ( = 4.61) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 4 สถานศึกษามีวัสดุ อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยพร้อมใช้งานอย่างเหมาะสม (x = 4.45)
2.2 ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ด้านการจัดการเรียนการสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 1 ครูผู้สอน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา (x = 4.60) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 5 ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา มีการจัดการทรัพยากรและดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัย ( = 4.39)
2.3 ผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ด้านนักเรียนและผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.46) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 7 นักเรียนมีภูมิคุ้มกันความปลอดภัยด้านสุขภาพอนามัยและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม ( = 4.58) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ ข้อที่ 6 นักเรียนมีภูมิคุ้มกันความปลอดภัยจากปัญหาทางสังคม (x = 4.34)
3. ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียน พานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564 มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
3.1 การดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564
ด้านการวางแผน (Plan)
ควรปรับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันต่อสถานการณ์ ในปัจจุบัน ควรจัดทำโครงการ กิจกรรมในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และหลากหลายรูปแบบวิธีการที่ทันสมัย เช่น แนวปฏิบัติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม (COVID Free Environment) ที่สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 กับบริบทสถานศึกษา การอบรมผ่านระบบ Online การจัดทำสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านความปลอดภัย และควรมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู บุคลากร ในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
ด้านการดำเนินตามแผน (Do)
ควรมีการจัดเก็บข้อมูลสถิติด้านอุบัติเหตุที่เป็นปัจจุบันโดยการมอบหมายครูประจำชั้นเป็นผู้บันทึกสถิติในระดับชั้นเรียน เพื่อเป็นข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรจัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านอุบัติหรือการเจ็บป่วยของนักเรียนเป็นรายภาคเรียน มาเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา ส่งเสริมและพัฒนาไม่ให้เกิดขึ้น หรือลดน้อยลง ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจให้กับนักเรียนทุกคนอย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล
ด้านการตรวจสอบ (Check)
ควรจัดให้มีแผนการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายขึ้น และเป็นไปตามปฏิทิน การดำเนินการนิเทศ ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องความปลอดภัยในตนเองให้กับครูที่เพียงพอต่อความต้องการ
ด้านการแก้ไขปัญหา (Act)
ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ online ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และหลากหลายช่องทางให้มากขึ้น ควรจัดให้มีเวทีการส่งผลงานในระดับสถานศึกษาสำหรับนักเรียน ครู บุคลากร เพื่อสร้างความตระหนัก และสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินงาน
3.2 ผลการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาปลอดภัยโรงเรียนพานพสกสวัสดิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2564
ด้านการบริหารจัดการ
ควรมีการตรวจสอบอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม และปลอดภัย สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม จัดทำป้ายและแผนผังข้อควรระวังด้านความปลอดภัยในจุดอันตรายทุกชั้นเรียน และรายงานต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกและความตระหนักต่อปัญหา สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนบุคลากรในสถานศึกษาและชุมชน
ด้านการจัดการเรียนการสอน
ควรมีการจัดกิจกรรมการให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษามีการจัดการทรัพยากร และดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัย ควรมีการแสดงระบบการพัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอนให้ดีกว่าเดิม นอกจากนี้ยังกำหนดนโยบายพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน โดยฝ่ายการบริหาร งานวิชาการ เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา โดยดำเนินการกระชับหลักสูตร ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 และสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทราบ และหากยังใช้หลักสูตรเดิมในการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ครูจะต้องใช้เวลาสอนมากขึ้นเพื่อสอนให้ครบถ้วน
ด้านนักเรียนและผู้ปกครอง
ควรมีการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความปลอดภัยของตนเองและทรัพย์สินทั้งภายในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา และควรมีการวางแผน การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย เพื่อให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันความปลอดภัย จากปัญหาทางสังคม ได้แก่ แต่งตั้งกรรมการเฝ้าระวังป้องปรามนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และสถานที่จุดเสี่ยงโดยเฉพาะห้องเรียน ห้องน้ำ ให้ความรู้แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน จัดบริการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน ใช้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และให้มีผู้รับผิดชอบรายงานตามลำดับขั้น