ชื่อผลงานวิชาการ การประเมินโครงการส่งเสริมโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้
โรงเรียนบ้านน้ำริน (คุรุราษฎร์รังสรรค์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แพร่ เขต 2
ผู้วิจัย นายบุญมี เหลาธรรม
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านน้ำริน (คุรุราษฎร์รังสรรค์) ต.ต้าผามอก อ.ลอง จ.แพร่
ปี พ.ศ. 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านน้ำริน (คุรุราษฎร์รังสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แพร่ เขต 2 ประกอบด้วย ด้านบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการในเรื่องผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ ตามโครงการส่งเสริมโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้โรงเรียนบ้านน้ำริน (คุรุราษฎร์รังสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แพร่ เขต 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านน้ำริน (คุรุราษฎร์รังสรรค์) โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ผ่านแนวคิดโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นแบบประเมินเกณฑ์รวม (Holistic Rubric) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับบริบทของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงการสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ สภาวะแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ และผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการดำเนินโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ งบประมาณในการดำเนินโครงการมีเพียงพอ
3. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้ครูและนักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม และกิจกรรมในโครงการช่วยให้ครู และนักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ มีการให้ความรู้ ประชุมชี้แจง สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีดำเนินการ, มีการกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม และขณะดำเนินงานตามโครงการมีการแก้ไขปรับปรุงวิธีการ ดำเนินโครงการเมื่อพบว่าบกพร่อง
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ครูส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และร่วมกันอภิปราย ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ครูเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและคนอื่นเข้าเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอน
5. ผลการประเมินประสิทธิภาพจัดการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้ พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 80.44 คะแนน ซึ่งมีคุณภาพเมื่อเทียบกับเกณฑ์อยู่ในระดับดี