ชื่อเรื่อง โครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอม ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน นายลุกมาน หนูยาหมาด
ปีที่ประเมิน 2563
รายงานการประเมินโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพะยอม ปีการศึกษา 2563 โดยใช้แบบจำลองของซิปป์ (CIPP Model) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอมปีการศึกษา 2563
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของ โครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอมปีการศึกษา 2563
3. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอมปีการศึกษา2563
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอมปีการศึกษา 2563 เกี่ยวกับ
4.1 ความดีของนักเรียนด้าน ความพอเพียง มีวินัย สุจริตและจิตอาสา
4.2เพื่อประเมินด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอมปีการศึกษา 2563ของผู้เกี่ยวข้อง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย ครูโรงเรียนบ้านท่าพยอม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (  ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (  ) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอม ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ในภาพรวมสรุปได้ดังนี้
1. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอม ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.34 ,  = .59 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 2 ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ มีความคิดเห็นความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.50 ,  = .61) ผ่าเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ข้อที่ 3 ด้านความสอดคล้องนโยบายของโครงการได้อย่างเหมาะสมและชัดเจนสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.38 ,  = .57) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 4 ด้านความเป็นไปได้ขอลโครงการ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 4.25 ,  = .63)
2. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอม ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.26 ,  = .62) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ข้อที่ 4 ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม เพียงพอ สะอาด และปลอดภัย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.42 ,  = .61) รองลงมาคือ ข้อที่ 2 ด้านความพร้อมของบุคลากร มีความเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 4.36 ,  = .64) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือข้อที่ 5 ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 4.21 ,  = .59)
3. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ประเมินกระบวนการของโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอม ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32 ,  = .66) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ข้อที่ 1 ด้านการวางแผนการดำเนินการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.39 ,  = .59) รองลงมาคือ ข้อที่ 4 การนำผลประเมินมาปรับปรุง พัฒนามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 4.38 ,  = .69) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือข้อที่ 3 การติดามและประเมินผล ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 4.19 ,  = .71)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอม ปีการศึกษา 2563
4.1 ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ประเมินผลผลิต ของโครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอม ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากmที่สุด (  = 4.56 ,  = .68) เมื่อพิจารณาแต่ละกิจกรรม พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ข้อที่ 1 ความมีวินัย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.72 ,  = .58 ) รองลงมา คือข้อที่ 4 ความมีจิตอาสา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.66 ,  = .61) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 2 ความสุจริต/ซื่อสัตย์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.62 ,  = .60 )
4.2 ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง ประเมินความพึงพอใจ โครงการต้นกล้าแห่งความดีโรงเรียนบ้านท่าพยอม ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.54 ,  = .46) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 10 นักเรียนมีความสามารถในการมีนิสัย พอเพียง มีวินัยสุจริต และจิตอาสา เพิ่มขึ้นมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.67 ,  = .44) รองลงมา คือ ข้อที่ 12 มีนักเรียนมีความรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและใช้ในชีวิตประจำวันความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 4.50 ,  = .50) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อที่ 3 การเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนและการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 3.93 ,  = .69 )
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 โรงเรียนต้องดำเนินการส่งเสริมความดีด้านมีวินัย สุจริต/ซื่อสัตย์ พอเพียง และจิตอาสา อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ขยายผลไปสู่ผู้ปกครอง เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมความดีมีคุณธรรมอย่างยั่งยืน
1.2 โรงเรียนควรมีการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
1.3 โรงเรียนควรประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด
1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ให้โรงเรียนต่างๆได้ดำเนินการส่งเสริมความเป็นต้นกล้าแห่งความดีของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ตลอดจนสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรนำรูปแบบการประเมิน CIPP Model ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบขั้นตอนของกิจกรรมทุกขั้นตอน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผน แก้ปัญหาหรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
2.2 ควรมีการเปรียบเทียบกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมความดีมีคุณธรรมได้ดีที่สุดในโรงเรียน
2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามาตรฐานการศึกษา