ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้รายงาน นางสาวศศิธร อุดรจรัส ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังทอง
โรงเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอ
วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2564 ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอ
วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2564 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ในการดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2564 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) การดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
ปีการศึกษา 2564 และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ที่ได้จากโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2564
โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 145 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้บริหารและผู้แทนครู) ครูผู้รับผิดขอบโครงการและครูประจำชั้น จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 66 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 66 คน ของโรงเรียนบ้านวังทอง ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) มีทั้งหมด 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผู้ให้ข้อมูล คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้รับผิดขอบโครงการและครูประจำชั้น ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านผลผลิต ผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งได้มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Alpha Coefficient) ดัดแปลงจากสูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability) ดังนี้ ฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.977 และฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.937 สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบทโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2564 รวมทุกด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูประจำชั้น มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.65)
เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ขั้นเตรียมการและการวางแผนการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.59) รองลงมา คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ
อยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D. = 0.65) และความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = 0.64) ตามลำดับ และอันดับสุดท้ายวัตถุประสงค์ของโครงการอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0.70)
2. ด้านปัจจัยนำเข้าโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอ
วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2564 รวมทุกด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูประจำชั้น มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.57) รองลงมา คือ ความเพียงพอของทรัพยากรต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.55) ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอ
วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2564 รวมทุกด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูประจำชั้น มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.66) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า กิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.64) รองลงมา คือ ขั้นกำกับ ติดตาม ประเมินและรายงาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = 0.74) และช่วงเวลาการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.31, S.D. = 0.57) ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิตโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านวังทอง อำเภอ
วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2564 รวมทุกด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูประจำชั้น นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ช่วงเวลาการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.60) รองลงมา คือ ขั้นกำกับ ติดตาม ประเมินและรายงาน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.65) และกิจกรรมการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.65) ตามลำดับ