ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศดิจิทัลแบบเพื่อนร่วมพัฒนาพาสำเร็จ เพื่อส่งเสริมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ครูปฐมวัยโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครพนม
ผู้วิจัย สมัยณพัชร ราชชมภู
ปีที่วิจัย 2563-2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการนิเทศเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัยโรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จ 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการนิเทศเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม ระยะที่ 3 เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม ระยะที่ 4 เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จ เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูปฐมวัย และเด็กปฐมวัย โรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครพนม จำนวนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า แบบทดสอบก่อนและหลังศึกษาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบทดสอบระหว่างการศึกษาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบประเมินวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย() ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบันในการนิเทศเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัยโรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.23) และสภาพที่คาดหวังในการนิเทศเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัยโรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.56)
2) ผลการพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนักและยอมรับการพัฒนา : ร่วมสร้างความตระหนัก ขั้นที่ 2 การวางแผนการพัฒนา : รู้จักค้นหา ขั้นที่ 3 การให้ความรู้ และร่วมพัฒนาครูปฐมวัย : ร่วมมือพัฒนา ขั้นที่ 4 การดำเนินการนิเทศ : นำพาความสำเร็จ ขั้นที่ 5 ความพึงพอใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัย : พิเศษสุดคุณภาพ
3) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม
3.1 การพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม ด้วยกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จในแต่ละขั้น
3.1.1 การสร้างความตระหนักและยอมรับการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.58)
3.1.2 การวางแผนการพัฒนาตนเองด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.63)
3.1.3 ความรู้ความเข้าในการนำชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองไปใช้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.64)
3.1.4 การพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม ด้วยรูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จ ส่งผลให้ครูปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสามารถคงสภาพคุณภาพการจัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้อยู่ได้ แม้เวลาผ่านไป 1 ภาคเรียน
3.1.5 ความพึงพอใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.71)
3.2 การสร้างชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้ร่วมพัฒนาพาสำเร็จ
3.2.1 คะแนนเฉลี่ยของครูปฐมวัยจากการทำกิจกรรมระหว่างศึกษาด้วยตนเองของแต่ละเล่ม คิดเป็นร้อยละ 85.97 และคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลังศึกษา คิดเป็นร้อยละ 87.75 ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้ร่วมพัฒนาพาสำเร็จมีประสิทธิภาพ 85.97 / 87.75
3.2.2 การประเมินคุณภาพของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้ร่วมพัฒนาพาสำเร็จ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.70)
3.3 การพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม ด้วยรูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จที่มีต่อครูปฐมวัย
3.3.1 คะแนนผลสัมฤทธิ์ของครูปฐมวัยหลังศึกษาสูงกว่าก่อนศึกษาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้ร่วมพัฒนาพา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3.2 การประเมินพฤติกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.76)
3.3.3 การประเมินการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.78)
3.4 การพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม ด้วยรูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จที่มีต่อเด็กปฐมวัย
3.4.1 คะแนนผลสัมฤทธิ์ของเด็กปฐมวัยหลังการได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สูงกว่าก่อนการได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากครูปฐมวัยที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้ร่วมพัฒนาพา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.5 ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัยด้วยรูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จ
3.5.1 ความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.79)
3.5.2 ความพึงพอใจของครูปฐมที่มีต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง : การพัฒนาการเรียนรู้ร่วมพัฒนาพาสำเร็จ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.81)
3.5.3 ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อครูปฐมวัยที่จัดประสบการณ์ การเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.69)
4) การประเมินรูปแบบการนิเทศแบบเพื่อนช่วยแนะร่วมพัฒนาพาสำเร็จเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย โรงเรียนเอกชนจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.68)