รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนวัดคลองครุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการของโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินเชิงระบบ IPP (สมคิด พรมจุ้ย และคณะ, 2554, หน้า 5-15) ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 55 คน นักเรียนจำนวน 842 คน รวม 897 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 55 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด กลุ่มที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพของนักเรียน ครู และผู้บริหารหลังจากดำเนินโครงการ ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากการเปิดตารางเครซี่&มอร์แกน ได้ตัวอย่าง จำนวน 269 คน แล้วทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling) เพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ ประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 21 คน นักเรียน จำนวน 248 คน รวม 269 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลการประเมินผลผลิตเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้และวัดผลประเมินตามหลักสูตร โดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ครูและบุคลากรผู้สอน จำนวน 48 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 780 คน รวม 828 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วยแบบประเมิน จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 2 แบบประเมินกระบวนการ ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านผลผลิต และแบบเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนวัดคลองครุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่า ในภาพรวม มีความเหมาะสม/ความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความเหมาะสม/ความพร้อมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านบุคลากร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านงบประมาณ
2. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนวัดคลองครุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่าในภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายขั้นตอน พบว่าทุกขั้นมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ขั้นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นการดำเนินงาน รองลงมาคือ ขั้นการวางแผน และขั้นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ขั้นการตรวจสอบ
3. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนวัดคลองครุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ
3.1 ผลการประเมินระดับความสำเร็จของโครงการนิเทศภายใน โรงเรียนวัดคลองครุ พบว่าในภาพรวม มีความสำเร็จอยู่ในระดับมาก บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ด้านผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านผู้เรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านครูผู้สอน
3.2 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีสรุปผลดังนี้
1) ร้อยละของจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 ที่มีผลการเรียนระดับดีขึ้นไปของนักเรียนโรงเรียนวัดคลองครุ ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 81.38 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 4.11 บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2) ร้อยละของจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 ที่มีผลการเรียนระดับ ดีขึ้นไปของนักเรียนโรงเรียนวัดคลองครุ ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 45.07 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 5.34 บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้