บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียน
โรงเรียนอนุบาลสตูล
ผู้รายงาน : นางสาวจินตนาพร แจ้งขาว
รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีการศึกษา : 2564
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสตูล อำเภอเมืองสตูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของโครงการ 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Products Evaluation) ของโครงการ 4.1) ประเมินด้านผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน 4.2) ประเมินด้านผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน และ 4.3) ประเมินด้านผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับผลที่เกิดจากการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และนักเรียนเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่และระดับประเทศ ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 101 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,450 คน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,530 คน รวมประชากร จำนวน 3,096 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในประเมินโครงการ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 200 คน เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 200 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสตูล โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 441 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการประเมินโครงการ (1) ค่าความสอดคล้อง (IOC) ของข้อคำถามของแบบสอบถาม (2) หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม (3) ค่าเฉลี่ย (x̄) และ (4) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผลการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลสตูล สรุปผลการประเมิน พบว่า
ความคิดเห็นการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.75, S.D. = 0.42) และของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48, S.D. = 0.57)
ความคิดเห็นการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของครูผู้สอน พบว่า
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.55, S.D. = 0.56) และของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.61, S.D. = 0.50)
ความคิดเห็นการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.68, S.D. = 0.45) ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.67, S.D. = 0.48)
ความคิดเห็นการประเมินด้านผลผลิต (Products Evaluation) ของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.77, S.D. = 0.41) ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59, S.D. = 0.48) และของผู้ปกครองนักเรียน
โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.70, S.D. = 0.41)
ความคิดเห็นการประเมินด้านผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.78, S.D. = 0.42) ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.72, S.D. = 0.46) และของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("x" ̅ = 4.77, S.D. = 0.39)
ความคิดเห็นการประเมินด้านผลผลิต (Products Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.74, S.D. = 0.44) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เพิ่มขึ้นสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 4.42