บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนตาม
หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (Mini English Program: MEP) โรงเรียนชุมชนบ้านปาดัง ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบ CIPP Model เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (Mini English Program: MEP) โรงเรียนชุมชนบ้านปาดัง ปีการศึกษา 2564 โดยศึกษาจากผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการ พบว่า
ด้านบริบท (Context) โดยภาพรวมพบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการจัดสภาพแวดล้อมในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบท มีผลการประเมินมากที่สุด และการกําหนดขั้นตอนของการดำเนินงานตามโครงการไว้อย่างชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมพบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดย มีการจัดสภาพแวดล้อม แหล่งการเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างเหมาะสม มีผลการประเมินมากที่สุด และ ทั้งนี้มีการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด
ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวมพบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ มีผลการประเมินมากที่สุด และการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด
ด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวมพบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก พิจารณารายด้านได้ ดังนี้
ด้านผลกระทบ (Impact) ในภาพรวมพบว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(Mini English Program: MEP) โรงเรียนชุมชนบ้านปาดังมากขึ้น มีผลการประเมินมากที่สุด และนักเรียนและโรงเรียนได้รับรางวัลจากการแข่งขันในโอกาสต่างๆ มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด
ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) ในภาพรวมพบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยนักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข มีผลการประเมินมากที่สุด และ ผู้โรงเรียนมีรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการการดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(Mini English Program: MEP) โรงเรียนชุมชนบ้านปาดัง มุมมองเชิงระบบ มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด
ด้านความยั่งยืน (Sustainability) ในภาพรวมพบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดย มีแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพโครงการ มีผลการประเมินมากที่สุด และมีความร่วมมือของเครือข่ายโรงเรียนในการพัฒนาส่งเสริมโครงการ มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด
ด้านการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) ในภาพรวมพบว่า ความ
เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดย การเป็นแหล่งเรียนรู้ในการถ่ายทอดคุณภาพโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(Mini English Program: MEP) โรงเรียนชุมชนบ้านปาดัง มีผลการประเมินมากที่สุด และ มีการขยายผลหรือต่อยอดแนวคิดจากการจัดโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ(Mini English Program : MEP) โรงเรียนชุมชนบ้านปาดัง มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด
จากผลการประเมินในแต่ละด้าน ทำให้สามารถสรุปผลการประเมินในภาพรวมได้ว่า การ
ดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (Mini English Program: MEP) นี้ ได้ผลการประเมินในระดับมากที่สุด และโครงการมีประโยชน์สำหรับนักเรียน โรงเรียนควรจะดำเนินการโครงการนี้ต่อไป