ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อความยั่งยืน โรงเรียนบ้านหนองบัวสะอาดโพธิ์คำ
อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี
ผู้ประเมิน นางณภัสนันท์ สมพอง
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองบัวสะอาดโพธิ์คำ อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงด้านการศึกษาเพื่อความยั่งยืน โรงเรียนบ้านหนองบัวสะอาดโพธิ์คำ อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัด
อุดรธานี มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 3)
ประเมินด้านกระบวนการ 4) ประเมินด้านผลผลิต และส่วนขยายผลผลิต 4.1) ประเมินด้าน
ผลกระทบ 4.2) ประเมินด้านประสิทธิผล 4.3) ประเมินด้านความยั่งยืน 4.4) ประเมินด้านการถ่ายโยง
ความรู้ ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 5 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จำนวน 8 คน นักเรียน จำนวน 64 คน และผู้ปกครอง จำนวน 64 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 141 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่
ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อความยั่งยืน โรงเรียนบ้านหนองบัวสะอาดโพธิ์คำ อำเภอพิบูลย์
รักษ์ จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณา
เป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน และระดับมาก 5 ด้าน เรียงตาม
ค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านกระบวนการ 2) ด้านผลผลิต 3) ด้านปัจจัยนำเข้า 4) ด้าน
ประสิทธิผล 5) ด้านบริบท 6) ด้านผลกระทบ 7) ด้านความยั่งยืน 8) ด้านการถ่ายโยงความรู้ โดยมี
รายละเอียด ดังนี้
1.1 ด้านบริบท (Context) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การ
ประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์
ของโครงการ มีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง รองลงมาคือ เป้าหมายของโครงการก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน และ โครงการสอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัดจ
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมผ่านเกณฑ์
การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ บุคลากร
ของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือ ผู้บริหารมี
ความตะหนักและความพร้อมในการดำเนินโครงการ และ สถานที่ดำเนินโครงการเพียงพอและ
เหมาะสม
1.3 ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมผ่าน
เกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน
และระดับมาก 1 ด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน (Plan) 2) ด้านการ
ดำเนินงาน (Do) 3) ด้านการตรวจสอบ (Check) 4) ด้านการปรับปรุง (Action)
1.4 ด้านผลผลิต (Product) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมผ่านเกณฑ์
การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่
สถานศึกษามีนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา รองลงมา
คือ นักเรียนมีองค์ความรู้เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และครูและบุคลากรทางการศึกษา
จัดการทรัพยากร และดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง และผลการประเมินในส่วนขยายด้านผลผลิต รายละเอียดดังนี้
1.4.1 ด้านผลกระทบ (Impact) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์
การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ครู
บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนตระหนักในความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือ ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนได้รับรางวัล/เกียรติบัตรใน
ระดับเขตพื้นที่/อำเภอ/จังหวัด และ ครู บุคลากรทางการศึกษา เป็นที่ยอมรับของชุมชนในด้านความ
พอเพียง
1.4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวม
ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่
ครู ครูจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีคุณภาพ รองลงมาคือ ครู
บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนนำแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และ ผลการผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ของนักเรียน
1.4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวม
ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่
การประเมินโครงการฯได้ดำเนินการเป็นระยะ ๆ รองลงมาคือ เกณฑ์การประเมินที่ใช้มีความชัดเจนฉ
ครอบคลุม และ การดำเนินโครงการฯเปิดโอกาสให้ชุมชนและหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม
และได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน
1.4.4 ด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และใน
ภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่
โครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของ
โรงเรียนเหมาะแก่การเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนอื่น รองลงมาคือ ครู บุคลากรทางการศึกษา
สามารถนำสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ และ
นักเรียนสามารถนำสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและถ่ายทอดให้กับผู้อื่น
ได้
2. ผลการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนา
ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อความยั่งยืน โรงเรียนบ้าน
หนองบัวสะอาดโพธิ์คำ อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และใน
ภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับ
แรก ได้แก่ นักเรียนมีความสุข สนุกสนานในระหว่างที่ทำกิจกรรมร่วมกัน รองลงมาคือ นักเรียนมี
ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ นักเรียนเห็นว่าโครงการนี้เป็น
ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ควรจัดต่อเนื่องทุกปี
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริม
และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อความยั่งยืน
โรงเรียนบ้านหนองบัวสะอาดโพธิ์คำ อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ
ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับ
แรก ได้แก่ โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ควรจัดต่อเนื่องทุกปี รองลงมาคือ
ผู้ปกครองนักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ของโครงการ และ นักเรียนมีพฤติกรรมขยัน ประหยัด ใฝ่
เรียน ใฝ่รู้ และมีความรับผิดชอบ