ชื่อรายงานการพัฒนา การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลราชบุรี โดยใช้การจัดการเรียนรู้
แบบ CIPPA Model
ชื่อผู้รายงาน นางสุรีย์ อ้วนวิจิตร ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ
โรงเรียนอนุบาลราชบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ราชบุรี เขต 1
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลราชบุรี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model และแบบฝึกเสริมทักษะวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้น
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลราชบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 9 ห้องเรียน รวมนักเรียน 360 คน
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลราชบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 1 ห้อง รวมนักเรียน 40 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกโรงเรียนแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ผู้รายงานสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลราชบุรี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model ในครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ รวม 30 แผนการจัดการเรียนรู้
2. แบบฝึกเสริมทักษะวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ รวม 30 แผนการจัดการเรียนรู้ 36 แบบฝึกเสริมทักษะ
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4. แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน เป็นแบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง (Structured Observation Form) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 4 ระดับ ของ ลิเคิร์ทสเกล (Likert Scales) จำนวน 5 ข้อ
5. แบบประเมินเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบ CIPPA Model แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ ของ ลิเคิร์ทสเกล (Likert Scales) จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ (%) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าดัชนีประสิทธิผล การหาค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หาค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินเจตคติ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยหลังเรียนและก่อนเรียน โดยใช้ t-test (Dependent Samples)
สรุปผลการพัฒนา
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model มีคุณภาพในระดับ มากที่สุด (X = 4.68) โดยเกณฑ์คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ต้องมีค่าเฉลี่ยแต่ละข้อได้ระดับ 3.5 ขึ้นไป จึงจะถือว่าใช้ได้ ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.40-4.80 คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ มากที่สุด (X = 4.68) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ทุกข้อ
2. แบบฝึกเสริมทักษะวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.06/81.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model และแบบฝึกเสริมทักษะวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการวิเคราะห์แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนขณะจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ นักเรียนมีนักเรียนมีความสนใจ มีการแสดงความคิดเห็น มีการตอบคำถาม มีการยอมรับฟังคนอื่น และทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด
5. นักเรียนมีเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model และแบบฝึกเสริมทักษะวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด